การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ พบว่าควรพัฒนานักเรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ฝึกให้นักเรียนได้คิด สังเกต ลงมือปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ แก้ปัญหาและหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจัดสภาพการณ์ของการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ร่วมมือกันคิดแก้ปัญหาและสามารถนำไปสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นี้มีชื่อเรียกว่า 3PE Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ชวนคิดตั้งคำถาม (Learning to Problems & Questions : P) 2) ตามติดเร่งค้นหา (Learning to Exploration : E) 3) พาคิด with STEM (Learning to Plan & Design : P) 4) เร่งรู้ลงมือทำ (Learning to Experimental : E) 5) แนะนำสิ่งที่คิด(Learning to Presentation : P) 6) ร่วมคิดพัฒนา (Learning to Extention & Development : E)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 81.59/82.43 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ผลประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 5 เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ วิชาวิทยาศาสตร์ 5 เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด