บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับ นโยบายโรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของกิจกรรม
3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง และ 4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนและความพึงพอใจของบุคลากรในชุมชนที่มีต่อการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่
แหล่งข้อมูลประกอบด้วย 1) ผู้บริหารจำนวน 4 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด
2) ครูผู้สอนจำนวน 108 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 3) กรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 4) นักเรียนจำนวน 1,988 คน 5) ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 1,988 คน ซึ่งนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายโรงเรียน
2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและเพียงพอ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 4) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
5) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรในชุมชนที่มีต่อโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่และแบบบันทึกรายการ
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่าของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่ ภาพรวมระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนแต่ละกิจกรรมย่อย พบว่า ความเหมาะสม/พอเพียง อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน ของโครงการในแต่ละโครงการย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
4.1 พฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกพฤติกรรม
4.2 ความพึงพอใจของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบัวใหญ่ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก