ประเทศไทยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๙) ไว้ว่า เป็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โดยช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น ปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาทักษะความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ตลอดจนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมถึงทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศมีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงาน กับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม โดยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นอย่างเป็นระบบ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560)
การจัดการเรียนการสอนกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยฝึกผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาในศตวรรษนี้จึงควรเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดสร้างความรู้ สืบค้นความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มีการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ตลอดจนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหานี้เอง จะเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้เรียนในการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ฝึกฝนในห้องเรียนไปสู่การนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
โรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 (Coroavirus Disease 2019 : COVID - 19) ทำให้สถานศึกษาเลื่อนการเปิดภาคเรียน และต้องรักษามาตรการการป้องกัน เช่น รักษาระยะห่าง สวนหน้ากากอนามัย ใช้เจลล้างมือ โดยสถานศึกษาต้องแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนโดยเตรียมการสอนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom, Line, Facebook ตามความถนัดของครู ตามตารางเรียนที่จัดไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงมีความสนใจที่จะนำการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหาโดยบูรณาการผ่านห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Apps for education โดยคาดหวังว่าการจัดการเรียนรู้นี้ จะช่วยทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเป้าหมายของหลักสูตร แผนการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม บูรณาการผ่านห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Apps for education ในรายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ กระบวนการวิจัยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 ผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Apps for education โดยโดยสอดแทรกไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
โดยมีโครงสร้างการออกแบบกิจกรรมแบบบูรณาการกับ Google Apps for education
ระยะที่ ๒ ผู้สอนสร้างห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google classroom โดยมีสถานการณ์ปัญหา เนื้อหา และการวัดและประเมินผล
ระยะที่ ๓ ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ใน Google classroom โดยให้รหัสแก่นักเรียนในการลงทะเบียนเข้าชั้นเรียน
ระยะที่ ๔ ผู้สอนวัดและประเมินผลนักเรียน โดยการมอบหมายงาน ทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบ
ระยะที่ ๕ นักเรียนทำโครงงานตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม พร้อมนำเสนอแบบ VDO
ระยะที่ ๖ ผู้สอนข้อเสนอแนะเพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุง พร้อมทั้งเผยแพร่ โครงงานผ่านห้องเรียนออนไลน์ Google classroom และทางช่อง YouTube
ผลการดำเนินการ
1. สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม บูรณาการผ่านห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Apps for education ในรายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
2. นักเรียนผ่านการประเมิน ในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยอยู่ในระดับ คุณภาพดี ร้อยละ 100
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถจัดทำโครงงานโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และเผยแพร่ผ่าน Google classroom