ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ผู้ประเมิน จิราวรรณ ขอดเมชัย
สังกัด โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประชากร ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย (1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูวิชาการ โรงเรียนละ 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน (2) บุคลากรในโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน ผู้แทนสายชั้น 9 คนและครูผู้ปฏิบัติการสอน 78 คน รวมทั้งสิ้น 99 คน ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 เป็นการวิจัย (นำไปใช้จริง) และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการพัฒนา (ประเมิน/ปรับปรุง) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการจากโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ได้ข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการจากโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีความคิดเห็นตรงกัน คือ การบริหารงานวิชาการเน้นการมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใช้กระบวนการหลัก PDCA ตามองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพในการทำวิจัยในชั้นเรียนตลอดจนการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน เน้นการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการจากนักการศึกษาสรุปเป็นแนวคิด คือ มีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน เป้าหมายความสำเร็จของตัวชี้วัด สร้างความเข้าใจในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตลอดจนการดำเนินการทำแผนยุทธศาสตร์กำหนดรูปแบบการบริหารงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม
2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการเป็นตัวแปรต้นมีองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ร่วมมือ ประสานใจ องค์ประกอบที่ 2 ใส่ใจการประกัน องค์ประกอบที่ 3 ผลักดันการนิเทศการศึกษา องค์ประกอบที่ 4 พัฒนาการแนะแนว และองค์ประกอบที่ 5 สร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนเทศบาลเมืองนครพนม มีตัวแปรตาม คือ คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้าระดับสายชั้นและครูผู้ปฏิบัติการสอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยภาพรวมทั้ง 5 องค์ประกอบ พบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 การประเมิน ตรวจสอบค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลของความคิดเห็นจากผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้าระดับสายชั้นโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ที่มีต่อความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องเชิงทฤษฎีและการใช้ประโยชน์ได้จริงขององค์ประกอบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0ได้พิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมครอบคลุมปัจจัยที่จำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนางาน คือ การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ซึ่งการพัฒนาให้นักเรียนเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพได้จะต้องดำเนินการที่มีกระบวนการที่จะต้องพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ประกอบด้วย กระบวนการและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ซึ่งในการดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพได้นั้นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของทุกฝ่ายซึ่งประกอบด้วยคณะครูและกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนในการกำหนดนโยบาย การวางแผนการจัดการศึกษาตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษา วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมในการประเมิน ตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดสอดคล้องกับนโยบายของเทศบาลเมืองนครพนม ซึ่งจากการส่งเสริมความร่วมมือจากทุกฝ่ายจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนา คือ การนิเทศการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำหรับการชี้แนะ แนะนำทุกอย่างแก่ครู นักเรียนและโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น กระบวนการแนะแนวก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนานักเรียนด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม การศึกษาต่อรวมถึงการพัฒนานักเรียนด้านอาชีพได้เป็นอย่างดี รูปแบบการบริหารงานวิชาการจึงมีความสำคัญมากที่จะส่งผลให้ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเข้มแข็งซึ่งจะเป็นการรับรองว่าโรงเรียนจะเป็นสถานศึกษาที่จะผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคมและประเทศชาติ
ด้านความเป็นไปได้ขององค์ประกอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 5 องค์ประกอบนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ตามมาตรฐานและเกณฑ์ที่เทศบาลเมืองนครพนมกำหนด เนื่องจากองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบครอบคลุมการดำเนินงานในการพัฒนาผู้เรียนและมีแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เครื่องมือมีความพร้อม ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายทุกภาคส่วน ครูมีการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน โดยได้รับการชี้แนะการจัดการศึกษาโดยกระบวนการนิเทศและการแนะแนวเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้การช่วยเหลือเพื่อให้การพัฒนางานวิชาการของนักเรียนได้อย่างถูกทาง พัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรด้านการศึกษา พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษา ดังนั้นรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนมทั้ง 5 องค์ประกอบ นับว่ามีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
ด้านความถูกต้องขององค์ประกอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 5 องค์ประกอบ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เทศบาลเมืองนครพนมได้กำหนดไว้แตกต่างกันตรงชื่อขององค์ประกอบ แต่รายละเอียดของการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน ดังนั้นองค์ประกอบที่นำเสนอมาจึงมีความถูกต้องและครอบคลุมเพราะมีทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย เช่น โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานชาติ
ด้านการใช้ประโยชน์ได้จริงขององค์ประกอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 5 องค์ประกอบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงเพราะเมื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานบริหารงานวิชาการที่โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ส่งผลให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น การประกันคุณภาพทางการศึกษามีความเข้มแข็ง สร้างความมั่นใจแก่ผู้มารับบริการทางการศึกษา ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้น การบริการมีคุณภาพมีประสิทธิภาพ การดำเนินการบริหารงานวิชาการประกอบด้วยแนวทาง วิธีการดำเนินการ ตัวชี้วัด มาตรฐานที่กำหนดถึงคุณภาพการจัดการศึกษาทุกด้านเพื่อการดำเนินการและการปฏิบัติหน้าที่นำไปสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทางวิชาการ การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานวิชาการ