ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ
ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางฮาบีบ๊ะ สามัญ
ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่าน เพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้ คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบประเมินความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบ Dependent Group
ผลการวิจัยพบว่าขั้นตอนที่ 1การวิจัย (Research : R1)
1. ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้พัฒนา โดยดำเนินการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ จนได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพและได้พัฒนาตามหลักของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษา เพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้การคิด การวางแผนการเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1)
การดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) Warm up คือการนำเข้าสู่บทเรียน นั่นเอง (2) Presentation ครูนำเสนอสิ่งที่จะสอน (3) Practice เด็กฝึกปฏิบัติ ในการใช้ภาษา (4) Production เด็กนำเสนอสิ่งที่ได้ฝึกปฏิบัติ (5) Wrap up คือ ขั้นของการสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ หรือรูปแบบ WPPPW (2 W 3 P) และผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2)
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/81.78 ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2)
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก การประเมินผล การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ร่วมกับแบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของผู้วิจัย และครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) พบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับดี และผลสะท้อนการเรียนรู้ (เชิงคุณภาพ)