ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวอมรรัตน์ มัชปะโม ตำแหน่ง ครู โรงเรียนมัธยมดงยาง
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ (3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 (3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและเงื่อนไขในการสอนคณิตศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระยะที่ 4 เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมดงยาง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ได้ศึกษาปัญหาและข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานด้านการเรียนรู้จากนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้อง สำหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตามลำดับขั้นตอน โดยใช้องค์ความรู้และแนวคิดทฤษฏีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการกำหนดขั้นตอนกิจกรรมในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสมเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กรอบแนวคิด Joyce, Weil และ Calhoun ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) ระบบตอบสนอง
6) ระบบสนับสนุน และกรอบกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ออกแบบผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดทฤษฎีและหลักการพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) ระบบตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้เห็นปัญหาและสาเหตุ
ของปัญหา 2) การแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา (Solution Finding) เป็นการค้นหาแนวคิดและวิธีการ
ในการแก้ปัญหา 3) การประเมินทางเลือก (Evaluation of Alternative) เป็นการพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของทางเลือกในการนำไปแก้ปัญหา 4) การแก้ปัญหา (Problem solving)
เป็นการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่เลือกไว้ 5) การนำไปประยุกต์ใช้ (Implicating) เป็นการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมดงยาง อำเภอ
นาดูน จังหวัดมหาสารคาม พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 3.2) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด