วิจัยเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานอย่างง่าย"นักคณิตศาสตร์น้อย"
พาคิดส์ (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย: นางสาวขวัญตา สุวรรณอินทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดเมืองยะลา) อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย: 2562-2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย "นักคณิตศาสตร์น้อย" (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4)เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดเมืองยะลา) อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กระส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ชั่วโมง ๆ ละ 1 แผน รวมทั้งสิ้น 20 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4)แบบประเมินจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ข้อ และ 5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
1.สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กระส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.การพัฒนา คุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
2.1ความเหมาะสมของรูปแบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2.3ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.20/83.89
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
3.1ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6834 หรือคิดเป็นร้อยละของความก้าวทางการเรียน เท่ากับ 68.34
3.2ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
3.5ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
4.ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย นักคณิตศาสตร์น้อย (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: วิจัยและพัฒนา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, นักคณิตศาสตร์น้อย, รูปแบบการจัดการเรียนรู้พาคิดส์ , ประถมศึกษาปีที่ 2