ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน : นางวรัญญา ยุ้งทอง
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.2) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.3) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples 3.4) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ในภาพรวมของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ ก่อนเรียน-หลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Simples 3.5) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2562 ที่กำลังเรียน รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 29 คน โดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามรูปแบบการจัด การเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความพึงพอใจสำหรับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่พัฒนาตามขั้นตอน เครื่องมือวัด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน 5) แบบรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยหาการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้วิธีของโรวิเนลลี (Rovinelli) และแฮมเบิลตัน (R.H.Hambleton) หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) โดยหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ (Lovett) หาคุณภาพของแบบสอบถาม หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( -Coefficient) โดยหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการเรียนรู้บนเว็บ (E1/E2 ) ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้บนเว็บ โดยใช้วิธีของกูดแมน,เพลคเทอร์ และ ชไนเดอร์ และวิเคราะห์คะแนนทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าสถิติ T test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอน โดยการสอบถามจากครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 คน พบว่า
ผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลรายวิชาภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15
ผู้สอนมีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลรายวิชาภาษาไทยอยู่ในระดับมาก คะเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24
มีโดยมีค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.320-0.552 ซึ่งครูมีความต้องการจำเป็น ในข้อที่ 11. การจัดการเรียนรู้บนเว็บ ในรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และข้อที่ 17. มีการวัดและการประเมินผลบนเว็บมากที่สุด (PNI modified = 0.552) รองลงมา คือข้อที่ 6. เนื้อหามีความทันสมัยเหมาะกับการนำไปใช้ (PNI modified = 0.538) และข้อที่ 9. กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน สอดคล้องผลการเรียนรู้ (PNI modified= 0.536)
1.2 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีดังนี้
1.2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ Vishwanath (2006 : 115 - 116), Joyce, B. and M. Weil (2011 : 159-388), ทิศนา แขมมณี (2557 : 222) ซึ่งสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักการแนวคิด ทฤษฎี
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง
และ 6) ระบบสนับสนุน
1.2.2 องค์ประกอบของการเรียนรู้บนเว็บ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจาก หน่วยงาน องค์การ นักวิชาการ ดังนี้ รัฐกรณ์ คิดการ (2551 : 15-20), วิชุดา รัตนเพียร (2545 : 29-35) , ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542 : 18-28) , ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : 87-94) , สุมาลี ชัยเจริญ (2550 : 23-25) , ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2554 : 91-92) เป็นบทเรียนบนเว็บในรายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยคุณลักษณะของบทเรียนบนเว็บในการออกแบบการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการ (Learning Management) 2) การจัดการเนื้อหา (Content Management) 3) การติดต่อสื่อสาร (Communications) 4) การประเมินผล (Evaluation)
1.2.3 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) ความคิดคล่อง (Fluency) (2) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) (3) ความคิดริเริ่ม (Originality) และ (4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกการคิด ที่สวนทางกับ
แนว ความคิดเดิม รูปแบบเดิมที่เคยทำ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสมเหตุสมผล เป็นการคิดเพื่อให้ได้ปริมาณของความคิด ซึ่งปริมาณของความคิดมีความสำคัญต่อกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดไปใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ ได้ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดแนวคิดของทอแรนซ์ ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ แบบ ก ดังนี้
1) กิจกรรมชุดที่ 1 การวาดภาพ
2) กิจกรรมชุดที่ 2 วาดภาพให้สมบูรณ์
3) กิจกรรมชุดที่ 3 การใช้เส้นคู่ขนาน
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดย ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 81.46/80.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6978 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.78
3.3 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน-หลังเรียน ของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.4 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมของการ
จัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ ก่อนเรียน - หลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้ t-test แบบ Dependent Simples พบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.5 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาพื้นฐาน หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด