การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
อย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Instructional Model to Promote Critical Problem-Solving Ability on Ratio Proportion and Percentage for Seventh Grade Students
อำนาจ บุตรสุริย์*
ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
Amnaj Butsuri
Senior Professional level teacher, Buakhao School, Kalasin Provincial Organization
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (USDC^2 ) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.60/81.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณโดยภาพรวม หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ( x̄= 67.60) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄ = 17.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.62, S.D.=0.35) โดยเฉพาะด้านประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอนมีความพึงพอใจสูงสุด (x̄= 4.68, S.D.=0.47)
คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop and find effectiveness value of instructional model on ratio, portion and percentage for seventh grade students, 2) to compare students critical problem solving ability, achievement score and critical problem solving skill before and after of using instructional model and 3) to study students satisfaction on instructional model. Sample group consisted of 40 students in second term of 2018 academic year from Buakhao school and research tools consisted of instructional model, 9 lesson plans , congruence evaluating form, one achievement test and satisfaction questionnaire. Percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis were used to analyze datum. The results were as follow: 1) the efficiency value of the instructional model, named Model, was 82.60/81.92 that was higher than the criterion 80/80. 2) the post test average scores of achievement, critical problem solving ability and critical problem skill were higher than pretest average scores statistical significance at .05 level and 3) the students satisfaction to instructional model process was highest level.
Keywords: Instructional model; critical problem-solving ability