ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวมณิภา เรืองสินชัยวานิช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเจียงอี) สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเจียงอี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 149 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเจียงอี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 39 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นชั้นเรียนที่ผู้ศึกษาทำการสอนเครื่องมือในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้ E1 /E2 ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน (Dependent Sample t-test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (Statistical Package of Social Science : SPSS)
ผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.83/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก