ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด คำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางจุฑาทิพย์ ปลัดจ่า
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการคิดคำนวณ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (mean) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.57/83.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) การหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2) ทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3) ค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.71 หมายความว่า การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณเพิ่มขึ้นร้อยละ 71
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ , ทักษะการคิดคำนวณ, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์,
Research Title A Pattern Development of Mathematics-Learning Management for Developing Computation Skill of Mattayomsuksa One Students
Researcher Mrs. Chuthathio Paladcha
Mattayom Nongkhied School under Khonkaen Provincial Administrative Organization, Department of Local Administration, Ministry of Interior
Research Year Academic Year of B.E. 2561
Abstract
The objectives of this research were 1) to develop a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill under 80/80 efficiency standard, 2) to study the effectiveness of a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill, and 3) to study the satisfaction of Mattayomsuksa one students towards a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill. The sample group used in this research were 25 Mattayomsuksa 1/1 students of Mattayom Nongkhied School, Chumpare district, Khonkaen province under Khonkaen Provincial Administrative Organization, Department of Local Administration, Ministry of Interior, in the academic year of B.E. 2561, first term, and selected by using simple radon sampling. The statistical instruments in this research were 1) learning management plan for computation skill development, 2) achievement tests, 3) evaluating test of computation skills, and 4) questionnaires for evaluating students satisfaction. The statistics used for analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results revealed that
1) a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill was efficient at 84.57/83.97 that was higher than efficiency standard,
2) the effectiveness of a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill showed that
2.1) the achievement results after class was higher than the before classs ones statistically significant at the level of .05,
2.2) the after class of the computation skill of students with mathematics-learning management was higher than the before classs ones statistically significant at the level of .05, and
2.3) the effectiveness index was 0.71 that showed the level of computation skill increased after using this pattern 71%
3) the satisfaction level of Mattayomsuksa one students towards a pattern of mathematics-learning management for developing computation skill was at the highest level.
Keywords: Participative Learning Management, Developing, Computation Skill, Constructivist Theory,