การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร
2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร
3) ทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร
4) ประเมินรูปแบบ การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยนำเสนอรายละเอียด ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนไตรมิตร จากการสนทนากลุ่มของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน งานกิจการนักเรียน และครูแนะแนว จำนวน 12 คน สรุปสาระสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนไตรมิตร
พบว่า การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังมีปัญหาในการดำเนินงานที่ยังไม่ประสบ
ผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างของนักเรียนที่เป็นปัญหาทั้งต่อตัวนักเรียนเอง เพื่อน ครู รวมถึงผู้ปกครอง โดยร่วมกันสรุปพฤติกรรมที่ควรเร่งแก้ไข 5 อันดับแรก
ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวนักเรียนค่อนข้างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนจนนักเรียนอาจต้องออกกลางคัน ได้แก่ ชู้สาว การมาสาย หนีเรียน แต่งกายผิดระเบียบ และแสดงกิริยาไม่ดีต่อครู ซึ่งผู้ร่วมสนทนาทุกคนมองว่าระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เพราะเป็นระบบที่ช่วยสอดส่องดูแลนักเรียนทั้งด้านการเรียน สุขภาพ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่างๆ ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูที่ปรึกษากับนักเรียน และช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนของตนเองมากขึ้นด้วย
1.2 ปัญหาในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนไตรมิตร โดยสรุปปัญหาและอุปสรรคได้ดังนี้ ด้านปัจจัย คือ ครูที่ปรึกษายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูขาดความรู้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ ผู้ปกครองปิดบังข้อมูลบางส่วน ผู้ปกครองบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ
ด้านกระบวนการ คือ กระบวนการนิเทศกำกับ ติดตามยังไม่ต่อเนื่อง กิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหายังไม่เพียงพอ ครูที่ปรึกษาติดต่อผู้ปกครองไม่ได้ ขาดการวิเคราะห์สภาพปัญหา กิจกรรมในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ยังไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาของนักเรียน ด้านผลผลิต คือ นักเรียนไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ทั่วถึง ครูที่ปรึกษายังนำข้อมูลที่ได้มาใช้น้อยเกินไป และนักเรียนบางส่วนต้องออกกลางคัน
1.3 ความต้องการในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนไตรมิตร ได้แก่ ควรมีการวิเคราะห์ SWOT Analysis บริบทของโรงเรียนก่อนวางแผนในการดำเนินการ
ควรเพิ่มกิจกรรมในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ให้มีความหลากหลายและมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมพฤติกรรมของนักเรียน ผู้บริหารควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และงานกิจการนักเรียน เป็นคณะกรรมการทีมนำ ควรมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สำเร็จ และบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือและตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไตรมิตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พบว่า
2.1 ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีรายข้อ มีค่า 1.00 ทุกข้อ และค่าดัชนีความสอดคล้องความเป็นไปได้ มีค่าระหว่าง 0.80 1.00 โดยข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80 มีจำนวน 2 ข้อ ได้แก่ การจัดกิจกรรมถวายเพลพระ และการจัดกิจกรรมธนาคารความดี
2.2 ความสอดคล้องของรูปแบบ ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่า 1.00 ทุกข้อ
2.3 ความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
2.4 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร
3.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าประชุมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการประชุมสัมมนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3.2 ผลการประเมินความสามารถในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.53 )
3.3 ความคิดเห็นของที่มีต่อพฤติกรรมนักเรียนหลังใช้รูปแบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมหลังใช้รูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55)
3.4 ประเมินความคิดเห็นของ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53)
3.5 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
(x̄ = 4.57)
4. การประเมินรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไตรมิตร พบว่า ผลการประเมินมาตรฐาน ของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการน้อมนำการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม พบว่า มาตรฐานรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.54 )