บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึง
ประสงค์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ
3) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้วยวิธีการ
วิจัยแบบผสม โดยมีแหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการวิจัย และผู้บริหาร ครุและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนใน
สังกัดเทศบาลตำบลขามใหญ่ และสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้
จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 144 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย
แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของรูปแบบการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การ
วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการ
จำเป็นโดยใช้การวิเคราะห์Modified Priority Needs Index (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กรอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียน 6 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการ
บริหารแบบทางการ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน รูปแบบการบริหารแบบการเมือง รูปแบบการ
บริหารแบบอัตวิสัย รูปแบบการบริหารแบบกำกวม และรูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม โดยใช้
องค์ประกอบในการจำแนกรูปแบบ คือ ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ กระบวนการกำหนด
เป้าประสงค์ ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ
ธรรมชาติของโครงสร้าง การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก แบบของภาวะผู้นำ และรูปแบบภาวะ
ผู้นำที่เกี่ยวข้อง 2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 6 ขั้นตอน คือ การสนับสนุนและ
แลกเปลี่ยนภาวะผู้นำ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม การกำหนดและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน การปฏิบัติงานแบบร่วมมือ การปฏิบัติที่มุ่งผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ของ
นักเรียนและครู และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนวิธีการปฏิบัติ 3) การวิจัยในชั้นเรียน (CAR ) ได้แก่
การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การประเมินเพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษานักเรียนที่มี
ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
2. สภาพปัจจุบันเป็นรูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน (f=137) ที่มีค่าความถี่ของสภาพ
ปัจจุบันสูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f=69) รูปแบบการบริหารแบบ
วัฒนธรรม (f=69) เท่ากัน รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f=41) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย
(f=12) และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f=6) ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์เป็นรูปแบบการบริหาร
แบบผู้ร่วมงาน (f = 128) ที่มีค่าความถี่ของสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการบริหาร
แบบวัฒนธรรม (f = 84) รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f = 65) รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f =
28) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย (f = 6)และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f = 4) ตามลำดับ
3. รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ
วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยในชั้นเรียน เป็นการบูรณาการ
รูปแบบการบริหารแบบกำกวมและแบบวัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 7 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อ
รูปแบบ 2) หลักการ และความสำคัญ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 8
องค์ประกอบ คือ การกำหนดเป้าประสงค์ การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม โครงสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมโยงกับ
สภาพแวดล้อม แบบของผู้นำ และแบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง 5) แผนภาพของรูปแบบและการนำไปใช้
6) ปัจจัยความสำเร็จ และ 7) ประโยชน์ที่ได้รับ