บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม 3.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Sample)
จากผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 2.29, S.D. = 0.63) และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.55)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็น 7 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหาร่วมกัน ขั้นที่ 3 ขั้นการวางแผนสืบค้นและสร้างข้อตกลงร่วมกัน ขั้นที่ 4 ขั้นร่วมมือกันรวบรวมข้อมูลและแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 การนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นที่ 6 การนำไปปฏิบัติ และขั้นที่ 7 การประเมินผล โดยมีผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = 0.50) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.94/80.83
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 3.1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3.2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีพัฒนาการในการทำงานเป็นทีมสูงขึ้นทุกช่วง 3.3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 4.1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.56) 4.2) ผู้เชี่ยวชาญประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65, S.D. = 0.48)