ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางบุษบา ภู่ประเสริฐ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๓ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่ทำการวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ttest (Independent Sample t test)
สรุปผล
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหา ขั้นตอนที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ และขั้นตอนที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
3) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก