ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฐนันท์ เนตรทิพย์
สถานศึกษา : โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร เทศบาลเมืองน่าน (บ้านพระเนตร)
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร เทศบาลเมืองน่าน (บ้านพระเนตร) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่าครูผู้สอนยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ไม่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการสอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ครูผู้สอนใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนน้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ เก่าและขาดคุณภาพ ครูขาดการบูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ขาดทักษะและความสามารถด้านการแก้ปัญหา ไม่กระตือรือร้นในการเรียนรู้
2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า STARTS Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจและระบุปัญหา (S: Survey and Identify problem) 2) การรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี (T: Technology for gather information) 3) การกำหนดและออกแบบโครงงาน (A: Assign and design) 4) การลงมือปฏิบัติและปรับปรุงโครงงาน (R: Review and improve) 5) การนำเสนอถ่ายทอดความรู้ (T: Transmission approach) 6) สรุปและประเมินผลโครงงาน (S: Summary and evaluation) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสอดคล้อง (IOC = 1.00) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07 /82.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า (1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย=4.52 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.50) ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย =4.54 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51)