ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)
เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ
ผู้ประเมิน นางสาวกรรณิกา พลบุตร
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ที่ใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) ดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 26 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้แก่ นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านสื่อความจากข้อคำถามได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 65 คน ผู้ปกครอง จำนวน 65 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบประเมินความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดค่าระดับ 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวม ความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ที่ใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) จำแนกเป็น
4.4.1 ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) หลังการเข้าร่วมโครงการสูงขึ้น
4.4.2 ครูผู้สอนสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) และการนำไปใช้จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ในระดับมาก
4.4.3 นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีเยี่ยม
ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2561
4.4.4 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อโครงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก