ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ
ผู้วิจัย นางสาวกรรณิกา พลบุตร
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลเชียงเครือ
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ และ 4) เพื่อศึกษาประเมินรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 12 โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 149 คน เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D : Research and Development) ในลักษณะของการผสมผสานวิธี (Mixed Methods) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 2) ประเด็นสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6) แบบประเมินความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 8) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 9) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 10) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 11) แบบประเมินของแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ด้านอยู่อย่างพอเพียง 12) ประเด็นสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 13) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ ถึงพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะปฏิบัติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ พบว่า รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีชื่อว่า OADPSAR Model ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์องค์กร (O: Organization Analysis) 2) การหาความรู้ สร้างความตระหนัก (A:Acknowledging) 3) การกำหนดเป้าหมายพัฒนา (D:Defining Goals) 4) การนำความรู้ไปปฏิบัติ (P:Performing) 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (S:Sharing) 6) การประเมินผล (A :Assessing) และ 7) การรายงานผล (R :Results Report) ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนา พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.52, S.D.= 0.50) และความเป็นไปได้ ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.=0.50) และผลการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบในภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.46, S.D.=0.50) และความเป็นไปได้ในระดับมาก ( = 4.47, S.D.=0.50)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ พบว่า
2.1 ครูมีความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมการพัฒนาครู มีคะแนนความก้าวหน้า
ร้อยละ 38.67
2.2 ครูมีความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.=0.52)
2.3) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.=0.51)
2.4) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.57, S.D.=0.50)
2.5) ครูมีความคิดเห็นต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D.=0.51)
2.6) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 2.56, S.D.=0.49)
2.7) นักเรียนที่ได้เรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 40.17 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 59.83
2.8) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าสามารถนำไปสอนได้จริงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน