บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบและคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค(ธรรมเสนานีวรคุณ)
กลุ่มตัวอย่าง ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก คือ ครูผู้สอน จำนวน 12 คนและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโชค(ธรรมเสนานีวรคุณ) จำนวน 205 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. สภาพและปัญหาของการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค(ธรรมเสนานีวรคุณ)มีรายละเอียดดังนี้
1.1 มีบุคลากรในโรงเรียน คือผู้บริหาร และครูผู้สอนมีทั้งหมด 30 คน เป็นเพศชาย 9 คน เพศหญิง 21 คน จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นอนุบาล มีจำนวน 90 คน ระดับชั้นประถมศึกษา มีจำนวน 205 คน ระดับชั้นมัธยมศึกษา มีจำนวน 127 คน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 422 คน
1.2 สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) จากการสำรวจพบว่า หน่วยงานต้นสังกัดประสานความร่วมมือกับ สถานศึกษา สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพภายนอก รวมถึงการส่งเสริมการใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมาตรฐานการเมินคุณภาพภายนอกในทุกช่วงชั้นและครอบคลุมเนื้อหาสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระ และการศึกษาวิเคราะห์ และวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
1.3 ความต้องการของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) จากการสำรวจพบว่า ครูต้องการให้มีการส่งเสริมการใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลายโดยครูออกแบบนวัตกรรมในการจัดประสบการณ์ จัดการเรียนรู้ และจัดทำและใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมาตรฐานการเมินคุณภาพภายนอกเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับชั้น
2. ได้รูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) โดยการศึกษาจากเอกสารและแนวคิดต่าง ๆ โดยยึดหลักการบริหาร PDCA ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการที่ 1 ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การเตรียมการสำหรับผู้บริหาร คือ การกำหนดนโยบาย กำหนดโครงสร้างเวลาเรียน และ 2) การเตรียมการสำหรับบุคลากรในโรงเรียน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กระบวนการที่ 2 ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การจัดอบรมบุคลากร 2) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ3) นำแผนการเรียนรู้ไปใช้ กระบวนการที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรม 1) ติดตามและประเมินผล และ 2) สรุปผลการปฏิบัติงาน กระบวนการที่ 4 ประกอบด้วยกิจกรรม 1) นำผลการสรุปมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข 2) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และ 3) เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ)พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้การยอมรับในการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) ในระดับมาก
4. ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค(ธรรมเสนานีวรคุณ) หลังจากใช้การบริหารโรงเรียนในงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) พบว่าระดับคุณภาพผู้เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนส่วนใหญ่ มีระดับสูงขึ้น และครูมีความคิดเห็นในเชิงบวก