ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นางจริยา ศุภผล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา
สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับศึกษาข้อมูลพื้นฐานได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (3) เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ (4) รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (5) ครูผู้สอนกิจกรรมการเรียนรู้ และผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 รวมจำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (2) นักเรียนที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 42 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะชีวิต แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พบว่ากิจกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดนักเรียนมีความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะการทำงานกลุ่มโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
2. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เรียกว่า PI2C Model ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล และ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปใช้ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นเตรียม (Preparation: P) (2) ขั้นสอน (Instruction: I) (3) ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ (Check and Evaluation: C) และ (4) ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion and Evaluation: C) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93 , S.D. = 0.11) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.03/83.49
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า (1) ทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก ( = 2.58, S.D. = 0.13)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณและปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.66)