ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้
โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางกมลวรรณ ดำรงค์พานิช
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิด รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิด แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ครูยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ไม่มีรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ กิจกรรมไม่น่าสนใจ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้มีการนำมาใช้น้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ เก่าและขาดคุณภาพ ครูขาดการบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน นักเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ขาดเรียนบ่อย ขาดความสามารถด้านกระบวนการคิด แก้ไขปัญหา ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจใฝ่รู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิด ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นคลายสมอง (Loosen the brain) 2. ขั้นช่ำชองประสบการณ์ (Linking the experiences) 3. ขั้นสานต่อเนื้อหา (Learn the contents) 4. ขั้นนำพาปฏิบัติ (Lead practice) และ 5. ขั้นยืนหยัดความคงทนในการเรียนรู้ (Lifelong the knowledge practice) และมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 74.80/71.93 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบเปิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (คิดเป็นร้อยละของการพัฒนา 28.01)
4. นักเรียนมีความพึงพอใจระดับพอใจมาก ทุกรายการ โดยนักเรียนมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.84 คะแนน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.618