1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของผู้ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา (ข้อสอบกลาง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนบ้านดอยคำในปีที่ผ่านมา ในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ผลคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด จากคะแนนเฉลี่ยเป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 55 ผลคะแนนเฉลี่ยได้เพียงร้อยละ 46.81 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1, 2562 : 5/5) ซึ่งมีผลต่างถึง 8.19 คะแนน อีกทั้งผลคะแนนเฉลี่ยของการสอบยังไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดและสาระแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์จุดพัฒนาของนักเรียน พบว่า การจัดการเรียนรู้ยังไม่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ยังเป็นลักษณะที่ให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ในรูปแบบเดียวกัน นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน ไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ โดยเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
1. สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีค่าเฉลี่ยผลการเรียน ร้อยละ 43.93
2. สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มีค่าเฉลี่ยผลการเรียน ร้อยละ 47.00
3. สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มีค่าเฉลี่ยผลการเรียน ร้อยละ 47.15
4. สาระที่ 4 เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยผลการเรียน ร้อยละ 58.48
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ต้องการพัฒนาอย่างเร่งด่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องเรียนหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร ซึ่งครูต้องมีการนำสื่อการเรียนการสอนมาพัฒนานักเรียนให้นักเรียนดู ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้ทำการวิจัยชั้นเรียน เรื่อง การใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ การเรียนรู้สู่ Student Centric เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร โดยนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.1 วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอยคำ
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยสื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอยคำ
2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100
นักเรียนกลุ่มเก่ง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
นักเรียนกลุ่มปานกลาง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
นักเรียนกลุ่มอ่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป
นักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
เชิงคุณภาพ
1. ครูมีสื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและ การย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากขึ้นและผล O-net ในวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
แนวทางในการพัฒนา (แสดงถึงขั้นตอน/วิธีการพัฒนา)