ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนนานาชาติ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ศึกษา ธัญดา หนูพันธ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช สังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development )โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการการเขียนสะกดคำ 2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียน 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการการเขียนสะกดคำ 4) การปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านเขียนสะกดคำ ของนักเรียน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ครูที่สอนสังกัดเทศบาล ครูที่สอนสำนักงานเขตพื้นที่ ครูที่สอนสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา และครูที่สอนในกลุ่มเอกชน 2) เอกสารพระราชบัญญัติการศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนและเอกสารการเขียนสะกดคำ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและสถิติด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสะกดคำ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนานาชาติ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 และ 3/2 โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling)จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 45 คน ซึ่งสุ่มแบบเจาะจงจากนักเรียนที่มีผลการสอบปลายปีในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้คะแนนไม่ถึง ร้อยละ70เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำ 2) แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสะกดคำ 3) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการการเขียนสะกดคำ ของนักเรียน 4) แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการการเขียนสะกดคำ ของนักเรียน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพและข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสะกดคำ พบว่านักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยทั้งในภาพรวมของประเทศและสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจากการที่ผู้เรียน มีทักษะการเขียนสะกดคำ ต่ำ ส่งผลให้ทักษะการอ่านสะกดคำ ต่ำไปด้วยและยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆตามมาด้วยผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงนโยบายการศึกษาสรุปได้ว่าการพัฒนากระบวนการเขียนสะกดคำ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพคนของประเทศชาติผลการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551การจัดกระบวนการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการอ่านที่จะต้องมีกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้อ่านตามขั้นตอนดังนี้ 1) การเขียนสะกดคำ 2) คิดวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านการเขียนสะกดคำ 3) ตัดสินใจเสนอทางเลือก 4) นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต การศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการสอน พบว่า การออกแบบที่เป็นระบบ ที่สอดคล้องกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จะส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเขียนสะกดคำ พบว่า การเขียนสะกดคำ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1 ) วิเคราะห์เนื้อหา 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ 3) วิเคราะห์หลักการ การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอ่านสะกดคำ พบว่า การอ่านสะกดคำ เป็นการอ่านที่ฝึกให้ผู้เรียนอ่านหนังสือหรือบทอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะองค์ประกอบ สรุปความสำคัญของเรื่อง สามารถวิเคราะห์ถึงหลักการเขียนสะกดคำ เชิงสัมพันธ์เชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผลและเชื่อมโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา การเขียนสะกดคำ พบว่า การเขียนสะกดคำ เป็นทักษะที่ควบคู่กับ การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ จึงต้องสอนควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การศึกษาวิเคราะห์หลักการแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 พบว่าทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เน้นทักษะที่สำคัญ 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะด้านสารสนเทศสื่อ และเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและงานอาชีพ
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนพบว่ารูปแบบการสอนประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ได้แก่ ระบบสังคม ระบบสนับสนุนและหลักการตอบสนองซึ่งกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1. ขั้นการเขียน เชิงสำรวจ (Survey ) 2. ขั้นการตั้งคำถามจากการเขียนสะกดคำ (Question) 3. ขั้นการอ่าน เพื่อหาคำตอบของคำถาม (Read) 4. ขั้นการเขียนคำสะกดเชิงสร้างสรรค์ (Record ) 5. ขั้นการคิดวิเคราะห์จากเรื่องการเขียนสะกดคำ (Thinking) 6. ขั้นการเสนอแนวทางเพื่อการตัดสินใจปฏิบัติ การเขียนสะกดคำ (Decision Making) 7. ขั้นการตั้งใจนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง (Intention to Act) และผลการตรวจสอบพบว่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีมีดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอนมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00 ความสอดคล้องของรูปแบบการสอนมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียน พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.16 / 91.11 2) ความสามารถในด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับคุณภาพสูงและเพิ่มขึ้นทุกด้าน
4. ผลการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านสะกดคำ ของนักเรียนจะต้องมีการปรับปรุงระบบสังคม ที่จะต้องให้นักเรียนกล้าที่จะตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในสิ่งที่อยากรู้และจะต้องปรับปรุงระบบสนับสนุนที่ครูผู้สอนจัดหาสถานการณ์ เพื่อบทการเขียนสะกดคำ ที่มีประเด็นและมุมมองหลากหลายและเหมาะสมกับวัยของนักเรียนและเพียงพอกับการศึกษาค้าคว้า อภิปราย และตัดสินใจ
5. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก