ชื่อเรื่อง พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอมรรัตน์ สุวรรณศรี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเหมืองแบ่งวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดและตรวจสอบนิยาม ความสามารถ และพฤติกรรมบ่งชี้ และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ในแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Develop : D & D) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implement : l) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเหมืองแบ่งวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลังสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านอย่างวิจารณญาณ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนภาษาไทย ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาความสามารถการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ครูส่วนมากยังขาดโอกาสในการสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพในการเขียนเท่าที่ควร โดยเฉพาะวิธีการคิดออกแบบ เนื้อหาและเลือกใช้ข้อความในการเขียนที่มีเหตุผลหรือข้อโต้แย้ง เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้ผู้อ่านคิด ด้วยการไตร่ตรองและยอมรับเพื่อนําไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเข้าใจ ทั้งนี้ผู้สอนเห็นว่าการเขียน อย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งจําเป็นที่จะต้องนํามาพิจารณาดําเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ สําหรับผู้เรียนด้านการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารแก่ผู้อื่นที่ถูกต้องและมีคุณค่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลายเพื่อจูงใจและท้าทายการคิดไตร่ตรองพร้อมใช้เหตุผลอ้างอิงของผู้เรียน อีกทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนมากยังมีความสามารถพื้นฐานการเขียนภาษาไทยและการเขียนอย่างมีวิจารณญาณในระดับพอใช้ และต้องการการพัฒนาให้มีความสามารถในด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนองและ 6) ระบบสนับสนุน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ได้แก่ แนวคิดการให้เหตุผล (Reasoning) และ แนวคิดการคิดสะท้อนกลับ (Reflection) การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (Concept Learning) และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructivist) ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นกําหนดหัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา 2) ขั้นตรวจสอบความเชื่อมโยงและความรู้ 3) ขั้นวิเคราะห์เหตุผลอ้างอิงและข้อโต้แย้ง 4) ขั้นสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและ 5) ขั้นลงข้อสรุปและประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถด้านการเขียนอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 21.68 และ 48.21 ตามลําดับ
4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถด้านการเขียนอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 21.83 และ 48.70 ตามลําดับ
4.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก