โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพด จัดการเรียนการสอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช
และความหลากหลายของสัตว์ที่เน้นการอนุรักษ์พืชและสัตว์ในชุมชน
โรงเรียนเทศบาล ๗ บ้านหนองตาพด ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีโดยนางนุชจรี ศิริบุตร ครู ชำนาญการพิเศษ ได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ
Co - 5E เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยความหลากหลายของสัตว์และบทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชโดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4
จากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คุณครูนุชจรี ศิริบุตรพบว่า มีนักเรียนบางส่วนยังขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยศาสตร์ไม่ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษาและต้นสังกัดกำหนด คุณครูจึงได้พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาขึ้นมาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ การสังเกต การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลการลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์ด้านความสนใจใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบรอบคอบและความมีเหตุผล ทั้งนี้มี เป้าหมายสูงสุด คือ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตาพดให้สูงขึ้น
กิจกรรมที่สำคัญ คุณครูนุชจรี ศิริบุตร ออกแบบการจัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการที่เป็นขั้นตอนทั้งในและนอกห้องเรียน การใช้การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) เริ่มตั้งแต่การการวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบ การเรียนรู้ การสำรวจ สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย การการลงมือปฏิบัติจริงการสำรวจ การทดลอง การสรุปองค์ความรู้ ขยายองค์ความรู้ การนำไปใช้ประโยชน์
เพื่อการอนุรักษ์พืชและสัตว์ในชุมชนท้องถิ่น
ผลการจัดการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้เรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัด การเรียนรู้ที่คุณครูนุชจรี ศิริบุตรได้ออกแบบขึ้นคุณครูได้ทำการวัดและประเมินผล ผลการประเมินพบว่านักเรียน มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์และคะแนนผลสัมฤทธิ์การทดสอบหลังเรียนสูงขึ้น นักเรียน มีความรู้เรื่องพืชและสัตว์โดยเฉพาะพืชสัตว์ที่อยู่ในชุมชน/ท้องถิ่นสามารถออกแบบกิจกรรมโครงการการอนุรักษ์ที่สอดคล้องกับบริบท เป็นสื่อกลางใน
การประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชน/ท้องถิ่นหันมาเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์มากยิ่งขึ้น