การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สารใน
ชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน 2) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน โดยใช้รูปแบบการวิจัย R&D กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ จำนวน 40 ข้อเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มี 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 4 ข้อ และเป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ระดับความคิดเห็น 3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.1 นักเรียนมีความรู้พื้นฐานไม่ดีพอ ขาดทักษะในการเรียนแบบปฏิบัติการทดลอง ขาดการฝึกทักษะเชิงกระบวนการวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่ำ
1.2 ครูผู้สอน ขาดทักษะการสอนวิทยาศาสตร์ ขาดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อให้นักเรียนได้สืบค้น ทดลอง เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2. รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 85.33/87.92
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนที่ต่างกัน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนที่ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนที่ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ขั้นตอน สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ โดยที่คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงเป็นลำดับที่ 1 คือ การทำความเข้าใจปัญหา และลำดับสุดท้าย คือ การดำเนินการแก้ปัญหาและประเมินผล
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การเรียนที่ต่างกัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก