ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3
ผู้วิจัย ยุพิน ก้องเวหา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3)ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 19 คน ซึ่งกำลังเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดอนเงินพิทยาคาร อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน ใช้เวลา
ในการสอน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องวรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ทำหน้าที่ตรวจประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย
4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎี ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน
6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตรวจสอบและทบทวนความรู้เดิม ขั้นเร้าความสนใจ ขั้นสำรวจค้นหา และแสวงหาความรู้ ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นประเมินผล ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ ผลการประเมินขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านความเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.1 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.88/83.86
2.2 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7416 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 74.16
2.3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและ
หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 13.90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.32
2.4 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่จัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยรวม
ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด