ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา
ผู้รายงาน นางสาวกุสุมา ดาวประสงค์
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทหรือสภาพแวดล้อมการดำเนินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา 2) เพื่อประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมในการดำเนินการด้านกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินการโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน ครูและบุคลากร จำนวน 20 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 264 คน และนักเรียน จำนวน 264 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 560 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา โดยภาพรวม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านบริบท (Context) พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา ด้านบริบท โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ไม่มีข้อใดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รองลงมาคือ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และลำดับที่ 3 คือวัตถุประสงค์สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ไม่มีข้อใดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูและบุคลากรมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน รองลงมาคือ จำนวนครูและบุคลากรต่อการดำเนินการโครงการเพียงพอและเหมาะสม และลำดับที่ 3 คือ ครูและบุคลากร มีความพร้อมในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
4. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ไม่มีข้อใดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด กิจกรรมข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ กิจกรรมอบรมและศึกษาดูงานของคณะกรรมการสถานศึกษา กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา และกิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง และลำดับ ที่ 3 คือ กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคอมพิวเตอร์
5. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นโรงเรียนบัวงามวิทยา ด้านผลผลิต โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ไม่มีข้อใดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำทรัพยากรหรือวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาชีพได้ รองลงมาคือ เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้ และลำดับที่ 3 คือ เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพได้