ชณาภา พงษ์พานิช. (2562). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1
ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศ
ป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางตะบูน
สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลบางตะบูน ตำบล บางตะบูนออก อำเภอ บ้านแหลม
จังหวัด เพชรบุรี
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางตะบูน สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลบางตะบูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample) จากชั้นที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน ในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.22/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ได้ระดับคุณภาพโดยรวม ดี
2. ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางตะบูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลบางตะบูน ปีการศึกษา 2562 สัปดาห์ที่ 26 41 ทำการประเมินทั้งหมด 48 ครั้ง รวม 16 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยรวมทุกทักษะ คิดเป็นร้อยละ 83.33 ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.50 ได้ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ 3 ดี ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต คิดเป็นร้อยละ 87.50 ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.62 ได้ระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 3 ดี ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการจำแนกประเภท คิดเป็นร้อยละ 84.06 ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.52 ได้ระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 3 ดี ผลการวิเคราะห์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการลงความเห็นข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 78.44 ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.35 ได้ระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 2 ปานกลาง แสดงว่าชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยรวมได้ทุกทักษะ
3. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางตะบูน มีผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การศึกษาแหล่งเรียนรู้พืชในระบบนิเวศป่าชายเลนในเขตพื้นที่ตำบลบางตะบูน ในภาพรวมก่อนการพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.55 (S.D = 1.28) หลังการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.55 (S.D. = .69) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ร้อยละ 40 มีผลความก้าวหน้าของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมก่อนการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.55 หลังการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.55 มีความก้าวหน้าร้อยละ 40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทักษะการสังเกตก่อนการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 หลังการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 มีความก้าวหน้าร้อยละ 35 ทักษะการจำแนกประเภทก่อนการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 หลังการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 มีความก้าวหน้าร้อยละ 43 ทักษะการลงความเห็นข้อมูลก่อนการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40 หลังการพัฒนาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 มีความก้าวหน้าร้อยละ 40
ผู้วิจัย ชณาภา พงษ์พานิช
วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2562