ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้
เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
ผู้วิจัย นางสาวนริศรา เอกวงษา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังการเรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า(โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) จำนวนนักเรียน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Sluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ทีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที(t-test dependent sample) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอน (ECEIL Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ
คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่ 2 ขั้นสอนแบบแบ่งกลุ่ม (Committee Work Method ) ขั้นที่ 3 ขั้นประเมิน (Evaluation) ขั้นที่ 4 ขั้นบูรณาการแนวคิดและเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันและชื่นชมความสำเร็จ (Integration and Linking to Life) และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 (ECEIL Model) มีประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 81.88/83.81 เมื่อเทียบเกณฑ์ 75/75 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 (ECEIL Model) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
3.ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 (ECEIL Model)นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.88, S.D. = 0.01)
Title: Development of the Instructional Model Based on Constructive Theory to Enhance
Math Learning Abilities of Mathayom 5 Students
Author: Miss Naritsara Aekwongsa
Year: 2019
Abstract
The purposes of the study were to 1) develop the instructional model based on Constructive theory to enhance Math learning abilities of Mathayom 5 students, 2) to compare the learning achievement of Math before and after using the instructional model based on Constructive theory to enhance Math learning abilities of Mathayom 5 students, and 3) to evaluate students satisfaction to the instructional model based on Constructive theory to enhance Math learning abilities of Mathayom 5 students. The participants were 35 students from Ban Nong Ya Ma Community School in the first semester chosen by Sample random sampling. The instruments were the lesson plans, the learning assessment, and the students satisfaction evaluation form. The data were analyzed to find the average, mean, standard deviation and t-test sample.
The results of the study found;
1. The results from the ECEIL Model found that there are 3 parts of the model; the factor of principles and objectives, the factor of process, and the factor of application process. There are 4 steps of learning process; the engagement, the committee work method, the evaluation and the integration and linking to life. The ECEIL Model was effective at 81.88/83.81 comparing to the standard at 75/75.
2. The results from the learning assessment found that after using the model the learning achievement was significantly higher at .05.
3. The students satisfaction was at the highest level ( = 4.88, S.D. = 0.01).