เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและ
ทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางไอลดา เกิดนาค
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ทำการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ 3. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ และ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบ ร่วมแรงร่วมใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6/2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ จำนวน 15 กิจกรรม แบบทดสอบแบบทดสอบ เรื่อง งานอาชีพและทักษะชีวิต แบบประเมินทักษะชีวิต แบบประเมินทักษะอาชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาประสิทธิภาพของกิจกรรม การทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย พบว่า นักเรียนต้องการให้มีการพัฒนากิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ โดยนำเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตจริงในชีวิตประจำวันของนักเรียนมาเป็นเนื้อหาในกิจกรรมที่เรียน นอกจากนี้ในการเรียนการสอนควรที่จะให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ และได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะชีวิตโดยแท้จริงและทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในสังคม และทั้งนี้ผู้ปกครองนักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามกิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพโดยใช้การแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพราะผู้ปกครองนั้นเป็นคนที่ได้เลี้ยงดู ได้ดูแลในทุกช่วงชีวิตของนักเรียนทำให้รู้ว่าอะไรบ้างที่นักเรียนควรจะพึงปฏิบัติทางทักษะชีวิตในชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง
2. การพัฒนากิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.20/82.56 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5276 หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 52.76 ผลการประเมินทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
4. ความความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบร่วมแรงร่วมใจ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก