ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาความสามารถการวิเคราะห์คำซ้อนในภาษาไทย โดยใช้เกมทุบน้ำแข็งคำซ้อน ซ่อนคำ :
การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์
ชื่อผู้¬วิจัย นางสาววาสนา เชิดหนองผือ
ตำแหน่ง ครู (คศ.๑)
วุฒิการศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการสอนภาษาไทย
สถานศึกษาที่ติดต่อ โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์
เลขที่ ๑๒๔ หมู่ ๑๐ ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี ๒๐๑๖๐
โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓๘-๔๕๒๓๐๕
ประเภทงานวิจัย วิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถการวิเคราะห์คำซ้อนในภาษาไทย โดยใช้เกมทุบน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในการจำแนกประเภทของคำซ้อนได้ถูกต้อง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ ๗๐ ความพึงพอใจต่อเกมทุบคำน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑/๒ จำนวน ๔๐ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๓ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ๑) แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) ๒) เกมทุบคำน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) ๓) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การสร้างคำซ้อนในภาษาไทย ๔) แบบประเมินความพึงพอใจต่อเกมทุบคำน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ประเมินคุณลักษณะของนักเรียนและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การสร้างคำซ้อนในภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การสร้างคำซ้อนในภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน และวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อเกมทุบคำน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) จากแบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถการวิเคราะห์คำซ้อนในภาษาไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถการวิเคราะห์คำซ้อนในภาษาไทยของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยเกมทุบคำน้ำแข็งคำซ้อนซ่อนคำ : การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning มีความสามารถในการวิเคราะห์คำซ้อนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ ๘๐ แสดงว่า นวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning) เกมทุบน้ำแข็งคำซ้อน ซ่อนคำ สามารถพัฒนาความสามารถการวิเคราะห์คำซ้อนในภาษาไทยของนักเรียนได้ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการจำแนกประเภทคำซ้อนได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นและเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข