เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้การเรียน แบบ โครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษาค้นคว้า : ปิยนันท์ อังกุรรัตน์
ปีที่พัฒนา : 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียน แบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน แบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบประเมินความเหมาะสม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน 5) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 6) แบบทักษะ การทำโครงงานศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การจัดการเรียนการสอนควรจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดการแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เกิดความท้าท้ายจากการสืบค้นข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน อีกทั้งการเรียนการสอน สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ ควรใช้การเรียนสอดคล้องกับความต้องการและกับบริบทของชุมชน โดยให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน การเรียนการสอนควรมุ่งที่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกัน และความคิดสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วย ความคล่องในการคิด ความคิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ และคิดคล่องแคล่ว
2. การร่างรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงานเรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้รูปแบบ PGKPD Model ประกอบด้วย เตรียมความพร้อม (Preparation : P) กระบวนการกลุ่ม (Group Process : G) การให้ความรู้ (Knowledge : K) ปฏิบัติภาระงาน (Practice : P) การเผยแพร่ และแบ่งปัน (Dissemination : D) การตรวจสอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก การทดสอบค่าประสิทธิภาพขั้นทดลองภาคสนาม พบว่า มีประสิทธิภาพ 80.64/81.11สามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นเครื่องมือในการทดลองขั้นต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ การเรียนแบบโครงงานเรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.13/83.56
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงานเรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การเรียนแบบโครงงาน เรื่อง งานประติมากรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ระดับมาก
3) การประเมินทักษะการทำโครงงานศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวมอยู่ระดับมาก
คำสำคัญ : การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบโครงงาน