เรื่อง รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการ
เรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย ปีการศึกษา 2561
ผู้ศึกษา ลือชา คงรุ่ง
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัด การเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล
บ้านสักงอย ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย ปีการศึกษา 2561 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากร ในปีการศึกษา 2561 โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 21 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 (ตัวแทนชุมชน) จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 70 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย ปีการศึกษา 2561 พบว่า รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการกระจายอำนาจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 S.D. = 0.45) 2) ด้านการบริหารตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 S.D. = 0.45) 3) ด้านการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 S.D. = 0.46) และ 4) ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.57 S.D. = 0.45) เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความคิดเห็นระดับปฏิบัติงานของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) ก่อนการวิจัย เท่ากับ 3.49 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 และมีค่าเฉลี่ย ( ) หลังการวิจัย เท่ากับ 4.69 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.39 เมื่อพิจารณาเป็นด้านของความเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนและหลังการวิจัย พบว่า หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างก่อนและหลังการวิจัย โดยใช้ t- test พบว่า ความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ สู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 และเมื่อศึกษาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมายแยกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้
3.1 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.4 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน
3.2 ระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.74 คิดเป็นร้อยละ 94.8 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน
3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.63 คิดเป็นร้อยละ 92.6 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับที่มากที่สุด
ในทุกด้าน
3.4 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.66 คิดเป็นร้อยละ 93.2 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน