วิจัยในชั้นเรียน เรื่องการศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ครูภาณิชา ศรีรัตน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
โดยได้รับความเห็นชอบจาก
ประธาน
(นายเดชา เผ่าพงษ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย
(นางสาวภาณิชา ศรีรัตน์)
หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
(นางสาวภาณิชา ศรีรัตน์)
ผู้วิจัย
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย ผู้วิจัยได้จัดทำแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผลนำเสนอในรูปของตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการศึกษาปรากฏว่า
จากการศึกษาและวิเคราะห์แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรหากลยุทธ/วิธีการในการเปลี่ยนเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากหากนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์แล้ว จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น
วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ความสำคัญที่มา
ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในสังคมต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการศึกษาต้องปรับปรุงเพื่อให้คนมีความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้นักการศึกษาต้องปรับปรุงหักสูตรในระดับต่างๆให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นหลักในการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและดำเนินชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
คณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษย์มากโดยเฉพาะในส่วนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สร้างสรรค์จิตใจของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิด กระบวนการและเหตุผลคณิตศาสตร์ฝึกให้คนคิดอย่างมีระบบ ระเบียบและเป็นรากฐานของวิทยาการสาขาต่างๆ แต่คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม เนื้อหาบางตอนก็ยากที่ครูจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจและไม่เบื่อหน่ายตลอดจนช่วยให้นักเรียนมีความเจริญยงอกงามทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม อย่างไรก็ตามองค์ประกอบหนึ่งที่นับว่าสำคัญ คือ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชามีบทบาทสำคัญในอันที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวคือ นักเรียนจะสามารถเรียนรู้วิชาใดได้ดีขึ้นหากนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชานั้น ดังนั้นนักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาใดย่อมทำให้การเรียนวิชานั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นักเรียนที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ก็จะทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะจะทำให้นักเรียนไม่สนใจ ไม่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ไม่เห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์และเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่าย ลักษณะของนักเรียนที่เรียนอ่อนวิชาคณิตศาสตร์มักจะมีเจตคติในทางลบกับวิชาคณิตศาสตร์ คิดว่าตนเองเป็นผู้ล้มเหลวอยู่เสมอ ไม่ชอบเข้าชั้นเรียน ไม่ชอบทำงาน รบกวนเพื่อนคนอื่นขณะเรียน เบื่อหน่ายการเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสิ้น การที่นักเรียนจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น นักเรียนจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
จุดมุ่งหมาย
เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
นิยามศัพท์เฉพาะ
เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่พึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังจากมีประสบการณ์ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่สนองตอบต่อคณิตศาสตร์ไปในทางใดทางหนึ่งหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
ขอบเขตของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
3. ดำเนินการจัดทำเครื่องมือแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
4. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สรุปผลการวิจัย
ตารางการวิจัย
ขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลาในการทำวิจัย
1. ศึกษาสภาพปัญหา พฤศจิกายน 2562
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ธันวาคม 2562
3. สร้างเครื่องมือ มกราคม 2562
4. เก็บรวบรวมข้อมูล กุมภาพันธ์ 2562
5. สรุปผลการวิจัย มีนาคม 2562
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่าแบบลิเคิร์ท 5 ระดับ (Likert Scale)จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีข้อ 9 ข้อเป็นข้อความทางลบ
เกณฑ์ในการวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
นักเรียนที่ได้คะแนน 20-69 คะแนน หมายความว่า นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
นักเรียนที่ได้คะแนน 70-100 คะแนน หมายความว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติของนักเรียน
คนที่ คะแนน คนที่ คะแนน
1 75 17 68
2 64 18 70
3 78 19 70
4 56 20 82
5 69 21 63
6 70 22 56
7 72 23 63
8 78 24 72
9 62 25 78
10 56 26 65
11 70 27 63
12 56 28 72
13 53 29
14 61 30
15 55 31
16 63 32
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นถึงคะแนนเจตคติของนักเรียนโดยที่คนที่ 1-13 เป็นนักเรียนชาย และที่มี
เจตคติ 20-69 คะแนน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 53.85 ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
และนักเรียนชายที่มีเจตคติ 70-100 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 และ ส่วนนักเรียนหญิงที่มีเจตคติ 20-69 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
และนักเรียนชายที่มีเจตคติ 70-100 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00
เมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนเจตคติ 20-69 คะแนน เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ และ
70-100 คะแนน เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้สรุปได้ว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อแบ่งตามเพศทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่างก็มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เหมือนกัน โดยนักเรียนชายมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์มากกว่านักเรียนหญิง
สรุปผล
ผลจากการศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อแบ่งตามเพศหญิงและชาย พบว่านักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่างก็มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เหมือนกันโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยที่ได้
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเมื่อนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์แล้ว นักเรียนจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อครูได้ข้อมูลดังนี้แล้ว ครูผู้สอนพยายามปรับเปลี่ยนวิธีสอน โดยเริ่มต้นจากการชื่นชอบครูผู้สอนซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้
แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น
พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนขีดเครื่องหมาย  ในช่องที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติฉบับนี้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตัวอย่าง
ข้อความ
ความคิดเห็น
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
(5) เห็นด้วย
(4) ไม่แน่ใจ
(3) ไม่เห็นด้วย
(2) ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
(1)
00. วิชาคณิตศาสตร์มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลา 
1. วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ไร้สาระ
2. วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนรู้ได้ยาก
3. ข้าพเจ้าชอบศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่ครูจะสอนล่วงหน้า
4. วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีเนื้อหาท้าท้าย
ความคิดของมนุษย์
5. ถ้าเลือกได้ข้าพเจ้าจะเลือกไม่เรียนวิชา
คณิตศาสตร์
6. ข้าพเจ้าชอบเล่นเกมคณิตศาสตร์
7. ข้าพเจ้าชอบทำการบ้านวิชาคณิตศาสตร์
ด้วยตนเอง
8. ถ้าเลือกได้ข้าพเจ้าอยากเรียนสายอื่นที่ไม่มี
วิชาคณิตศาสตร์
9. ข้าพเจ้าใฝ่ฝันที่จะเข้าแข่งขันตอบปัญหา
เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ข้อความ
ความคิดเห็น
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
(5) เห็นด้วย
(4) ไม่แน่ใจ
(3) ไม่เห็นด้วย
(2) ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
(1)
10. วิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีความวิตกกังวล
11. ข้าพเจ้าชอบทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
มากกว่ากิจกรรมอื่น
12. ข้าพเจ้าให้ความสำคัญในการสอบ
วิชาคณิตศาสตร์
13. เป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุที่ต้องมานั่งแก้สมการ
14. วิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีความเครียด
15. วิชาคณิตศาสตร์ไม่ได้ช่วยในการประกอบอาชีพ
16. วิชาคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาสมอง
17. วิชาคณิตศาสตร์มีประโยชน์สามารถนำไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้
18. วิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีไหวพริบดี
19. วิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนหมดกำลังใจ
20. วิชาคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความเจริญ
ทางด้านเทคโนโลยี