นายวีระพล แดนโพธิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (พัฒนาประชาอุปถัมภ์)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้า
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 - 6 ที่เลือกเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมดนตรีสากล โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนว
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 แล้วทดลองใช้เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบ
การเรียน และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (พัฒนาประชาอุปถัมภ์) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์
กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้
เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 เล่ม
คู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จำนวน 1 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 ข้อ ใช้ระยะเวลาทดลองทั้งสิ้น 19 ชั่วโมง โดยวิธีทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน จำนวน 40 ข้อ แล้วจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้ง 6 เล่ม ติดต่อกันตามลำดับ หลังจากเรียนครบทั้ง 6 เล่มแล้ว ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ และวัดระดับความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้า
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 ข้อ นำคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน มาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
แล้วเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนก่อนกับหลังเรียนโดยหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
นำคะแนนวัดความพึงพอใจของนักเรียนมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แล้วนำค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับความพึงพอใจที่กำหนดไว้ เสร็จแล้วนำเสนอผลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถทางดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่เลือกเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ชุมนุมดนตรีสากล โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.00, S.D. = 0.00) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.31/94.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียนชุดนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสามารถและทักษะทางดนตรีได้จริง
2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้าจากโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
ที่เลือกเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมดนตรีสากล โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีค่าเท่ากับ 0.9163 ซึ่งเอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์
กลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับกลองไฟฟ้าจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสามารถ
และทักษะทางดนตรี สูงขึ้นร้อยละ 91.63 เอกสารประกอบการเรียนที่นายวีระพล แดนโพธิ์
จัดทำขึ้นมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การประดิษฐ์กลองไฟฟ้า
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 - 6 ที่เลือกเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมดนตรีสากล โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนว
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.36, S.D. = 0.40)