บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการประชารัฐร่วมใจพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ผู้ประเมิน เจริญ บัวลี
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2561
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี (4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี แยกออกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครูซึ่งมีอยู่ในกลุ่มผู้บริหารและครู) และครูผู้สอน จำนวน 110 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียน จำนวน 327 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของเครซี่และมอรแกน รวมทั้งสิ้น 780 คน แล้วทำการสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportion Stratified Random Sampling) ให้กระจายตามระดับชั้น คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ให้ได้จำนวนที่ครบตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ (โดยกำหนดให้นักเรียน 1 คน มีผู้ปกครอง 1 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินโครงการ สำหรับ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ สำหรับ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมินกิจกรรมตามโครงการ สำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ สำหรับ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 การประเมินโครงการด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน สำหรับนักเรียน ฉบับที่ 6 ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ สำหรับนักเรียน ฉบับที่ 7 ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ สำหรับผู้ปกครองนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านและระดับมาก 2 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านบริบท รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
2. ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านและระดับมาก 2 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการวางแผน (Plan) รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติ (D) และด้านการตรวจสอบ (C)
3. ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและขุมซน รองลงมาคือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ กับครูที่ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เช่น กิจกรรมรักการอ่าน/นักเรียนแสดงความสามารถทางศิลปะ กีฬา ดนตรี
4. ผลความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมในดำเนินงานโครงการประชารัฐร่วมใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี รองลงมาคือ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรจากแหล่งอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการประชารัฐร่วมใจพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และหลังดำเนินงานตามโครงการ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาร่มรื่น น่าอยู่ เหมาะต่อการเรียนจัดการเรียนการสอน