ชื่อเรื่อง : รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง
สมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนเทศบาลตำบลป่าตาล(ป่าตาลราษฎร์นุกูล) จังหวัดเชียงราย
ผู้จัดทำ : นายธงธวัช ศรีบุญเรือง
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลตำบลป่าตาล(ป่าตาลราษฎร์นุกูล) จังหวัดเชียงราย ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีผู้เรียนจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค จำนวน 10 ชุด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค มีลักษณะเป็นแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 87.63/83.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.35 คะแนนหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 82.53 และคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 37.18
3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6802 แสดงว่าผู้เรียนมีอัตราความ ก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.02
4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด