งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และทักษะในการเชื่อมโยงความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียน อบจ.บ้านจองคำ จำนวน 27 คน โดยทางผู้วิจัยได้ทำการสังเกตพฤติกรรมทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และทักษะในการเชื่อมโยงความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ในการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ (โปรแกรมตารางและการคำนวณ : Microsoft Excel) โดยใช้แบบบันทึกการสังเกตทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และทักษะในการเชื่อมโยงความคิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งสรุปอภิปรายผลการสังเกตได้ ดังนี้
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีทักษะขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับ น้อยที่สุด รองลงมาคือ ระดับ น้อย ระดับ ปานกลาง และระดับ มาก ตามลำดับ
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีการนำทักษะความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้อยู่ในระดับ น้อยที่สุด รองลงมาคือ ระดับ น้อย
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่ทำชิ้นงานโปรแกรมตารางและการคำนวณ : Microsoft Excel (ใช้สูตรพื้นฐานได้ถูกต้อง) อยู่ในระดับ น้อย รองลงมาคือ ระดับ ปานกลาง
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีผลการเรียน ค่อนข้างดี รองลงมาคือ ดีเยี่ยม ดีมาก และดี ตามลำดับ
จากผลผลการสังเกต ดังกล่าว ทางผู้วิจัยได้นำผลการสรุปอภิปรายเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง PLC (Professional Learning Community) ภายในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ของทางโรงเรียน ในช่วงปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งภายในวง PLC ได้เสนอให้ผู้วิจัยหากิจกรรมหรือวิธีการสำหรับส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเชื่อมโยงความคิด เพื่อที่จะได้นำทักษะความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 จำนวน 27 คน ฝึกทำกิจกรรมชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ผ่านบทเรียนออนไลน์ พื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (studio.code.org) ในหลักสูตรที่ 3 ซึ่งได้ออกแบบสำหรับการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน และเหมาะสมกับผู้เรียนอายุ 8 - 18 ปี โดยใช้แบบบันทึกความคืบหน้า และระดับความเสร็จสมบูรณ์ของชิ้นงาน จากหน้าแดชบอร์ดบทเรียนออนไลน์ พื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (studio.code.org) หลักสูตรที่ 3 แบบบันทึกการสังเกตทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และทักษะในการเชื่อมโยงความคิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูล ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2462 ซึ่งสรุปอภิปรายผลได้ ดังนี้
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีทักษะขั้นตอนในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับ น้อยที่สุด มากเป็นลำดับแรก ลำดับรองลงมาคือ ระดับ มาก และลำดับสุดท้ายซึ่งมีจำนวนเท่ากันคือ ระดับ ปานกลาง และระดับ น้อย
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีการนำทักษะความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้อยู่ในระดับ น้อย รองลงมาคือ ระดับ น้อยที่สุด
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่ทำชิ้นงานโปรแกรมตารางและการคำนวณ : Microsoft Excel (ใช้สูตรพื้นฐานได้ถูกต้อง) อยู่ในระดับ ปานกลาง รองลงมาคือ ระดับ น้อย
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1 ส่วนใหญ่มีผลการเรียน ค่อนข้างดี รองลงมาคือ ดีเยี่ยม ตามลำดับ