ชื่อผู้วิจัย นายสิริพงษ์ กิ่งนอก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ 1) ผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการศึกษา จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาโรงเรียนประทาย และแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่การส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการคิด ทักษะการใช้ชีวิต มุ่งเน้นการปฏิบัติจริงและเน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติชิ้นงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
1.2 การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะกระบวนการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์งานไม้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการสร้างชิ้นงานที่หลากหลายได้อย่างมีคุณภาพ นำไปสู่การสร้างอาชีพได้ในอนาคต
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ขาดสื่อการเรียนรู้ที่ฝึกให้มีการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ขาดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ขาดทักษะการทำงาน สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการคิด ทักษะการใช้ชีวิต มุ่งเน้นการปฏิบัติจริงและเน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติชิ้นงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. สร้างความคิดเกิดแรงบันดาลใจ 2. กระตุ้นให้ค้นคว้าแสวงหา 3. นำมาปฏิบัติสรรค์สร้างชิ้นงาน 4. จัดการสรุปรวมองค์ความรู้ และ 5. นำสู่การเสนอและประเมิน เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.97/81.78 ซึ่ง
เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
คิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด