ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย นางสาวพรรำไพ ศรชัย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ2) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ และ 4) เพื่อประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูผู้รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 389 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูจำนวน 20 คน นักเรียนอาสางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 26 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 290 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย นั กเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 368 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ
ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบบันทึกการสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุมแบบ
มีส่วนร่วม โดยการตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนา ส่วนการประเมินโครงการมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นในการประเมินโครงการ เป็นสอบถาม 8 ชุด ประกอบด้วยด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการประเมิน 8 ระยะตามช่วงเวลา จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.76 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่า ครูมีความพร้อม แต่ยังขาดความรู้ ทักษะ แรงจูงใจ รวมถึงยังมีส่วนร่วมในการดำเนินงานน้อย นอกจากนี้ยังไม่มีรูปแบบ วิธีการในการที่เป็นรูปธรรมในการดำเนินงาน และมีข้อเสนอนำเทคนิคการมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินงาน และต้องการให้มีการนำเทคนิควิธีการแนวใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
2) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีวิธีการดำเนินงาน 5 องค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูก
ในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และมีการเรียนรู้สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน โดยแต่ละขั้นตอนจะแสดงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและแก้ไข ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51) และคู่มือการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.52)
3) ผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน 5 องค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และมีการเรียนรู้สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.62)
4) ผลการประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต
(P: Product Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ
ด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) และการประเมินด้านประสิทธิภาพ (E: Effectiveness Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D. = 0.55) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้
(T: Transportability Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.63)