ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ชื่อผู้ศึกษา นางถนอมศรี ไชยวิชู
ปีการศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยรวม และรายด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2
ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ ประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 58 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง 5–6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ห้องกุหลาบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว อำเภอปัว จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คู่มือการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ จำนวน 30 กิจกรรม และแบบทดสอบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย (X-bar ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และ
การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว ที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์มีความสามารถ ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กดีขึ้น
2. ระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2
ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัวหลังการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า
ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา อยู่ในระดับดีมาก
3. เด็กวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ห้องกุหลาบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ สูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหลังการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ส่งผลให้เด็กมีความสามารถใน
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาอยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05