หลักสูตรการทำสบู่สมุนไพร
จำนวน 16 ชั่วโมง
ความเป็นมา
คนสมัยก่อนไม่ได้ใช้สบู่ถูตัวเหมือนกับสมัยนี้ การอาบน้ำในสมัยนั้นยุ่งยากมากต้องใช้ขี้เถ้าผสม น้ำแล้วเอามาทาตัว จากนั้นก็ทาทับด้วยน้ำมันหรือ ไขมัน แล้วล้างออกด้วยน้ำ นับว่าเป็นความฉลาด ของคนในสมัยนั้น เพราะในทางวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบเคมีของขี้เถ้ากับไขมันนั้น คล้ายกับองค์ประกอบของสบู่มาก สบู่ก้อนแรกของโลกเกิดขึ้นบนแท่นบูชายัญ เมื่อ 2500 ปีที่แล้ว ชาวโรมันที่อยู่ในพิธีสังเกตว่า เมื่อสัตว์ถูกเผาบนแท่นไม้ จะมีไขมันไหลออกมาและเมื่อฝนตกลงมาโดนใส่ไขมันนั้น จะจับตัวแข็ง กลายเป็นก้อนไหลลงไปในลำธาร แม่บ้านที่เอาผ้ามาซักที่ลำธารได้นำเอาก้อนไขมันนี้มาถูลงบนผ้าปรากฏว่าผ้าสะอาดขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาไขมันแพะไปต้มกับขี้เถ้าจากการเผาไหม้กลายเป็นสบู่ในยุคเริ่มแรก สบู่จากธรรมชาติ นอกจากก้อนไขมันแล้ว ยังมีวัตถุดิบธรรมชาติอย่างอื่นอีกที่คนสมัยก่อนนิยมเอามาใช้เป็นสบู่ โดยเฉพาะพืชและมีเรื่องประหลาดว่าเกิดขึ้นที่ เกาะไซโมลัสในทะเลอีเจียน ซึ่งมีก้อนบางอย่าง หน้าตาเหมือนสบู่เกิดขึ้นเองทั่วไปรอบๆ ทั้งเกาะ เมื่อลองเอามาถูตัวและซักผ้า ก็สะอาดไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักเจ้าก้อนนี้ จะมีฟองออกมาเป็นจำนวนมาก จนทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยฟองหนาและมีความสูงเกือบฟุตเส้นทางของสบู่สมัยใหม่สบู่สมัยใหม่ที่เราเห็นว่าทั้งสวยทั้งหอม เริ่มมีขึ้นในปีค.ศ. 1879 แต่เดิมฝรั่งไม่ค่อยชอบอาบน้ำและไม่สนใจเรื่องโรคผิวหนังเท่าไร จนกระทั่งวงการแพทย์มีข้อมูลว่าแบคทีเรียบนผิวหนังและเสื้อผ้าสามารถทำให้เป็นโรคร้ายแรงอื่นๆตามมาได้ ก็เลยเกิดความตื่นตัวในการใช้สบู่ถูตัวมากขึ้น ต่อมาสบู่ก้อนเกิดจากเหตุการณ์นึง เมื่อคนงานคนหนึ่งในโรงงานสบู่ของ นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ ลืมปิดเครื่องปล่อยให้ส่วนผสมถูกตีอยู่ในเครื่องนานเกินไป แต่ส่วนผสมที่ได้กลับมีความพิเศษตรงที่เบากว่าเดิมและลอยน้ำได้ พร็อกเตอร์ เลยจับมือ กับนักเคมีชื่อ เจมส์ แกมเบล ร่วมกันผลิตสบู่แบบใหม่ที่มีฟองนุ่ม เบา และลอยน้ำได้ เรียกว่า “สบู่ไอวอรี่” ซึ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากนั้นก็มีการคิดค้นใส่สี กลิ่น และ คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ลงในสบู่ จนออกมาเป็นสบู่อย่างที่เราใช้กันทุกวันนี้
หลักการของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
2. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
3. เป็นหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแนวทางการประกอบอาชีพเพื่อเป็นแนวทางการเสริมรายได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความเข้าใจในกระบวนการฝึกอาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เรียน มีทักษะการ เลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ – อุปกรณ์ การคำนวณ ต้นทุนกำไร ของการเรียนอาชีพได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้พลาดโอกาส ผู้ขาดโอกาส ผู้ด้อย และประชาชนทั่วไป
ระยะเวลา จำนวน 16 ชั่วโมง ทฤษฎี 5 ชั่วโมง ปฏิบัติ 11 ชั่วโมง
โครงสร้างหลักสูตร
1. ช่องทางการประกอบอาชีพ
1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ
1.2 แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
1.3 การสำรวจทรัพยากรในที่มีในชุมชน
1.4 ทิศทางการประกอบอาชีพ
2. ทักษะการประกอบอาชีพ
2.1 การเลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ – อุปกรณ์
2.2 อธิบาย สาธิต ปฏิบัติ
2.3 ขั้นตอนกระบวนการฝึกอาชีพ
2.4 วิธีการจัดเก็บ และวิธีการดูแลรักษา
3. การบริหารจัดการอาชีพ
3.1 ขั้นตอนการการผลิต การควบคุมคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์
3.1.1 เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพ
3.1.2 บรรจุภัณฑ์
3.2 การจัดการ/การตลาด
3.2.1 การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า
3.2.2 การกระจายสินค้า
3.2.3 การประชาสัมพันธ์
3.3 การวิเคราะห์ศักยภาพใน
3.3.1 ความต้องการในการจำหน่าย
3.3.2 การบันทึกข้อมูลต้นทุน-กำไร
3.3.3 การแข่งขันในตลาดผู้ผลิต
3.3.4 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา
2. การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. ฝึกปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
1.1. ใบความรู้
1.2. แบบสังเกตพฤติกรรม
2. แหล่งเรียนรู้
2.1. ห้องสมุด
2.2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3. จากสื่อคอมพิวเตอร์ (www. Google /www.youtube)
2.4. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2.5. วิทยากร
การวัดผลประเมินผล
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 5,6,7,10,11,22
2. การประเมินเวลาเรียน ร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
การจบหลักสูตร
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 6,9,29,30
2. การประเมินเวลาเรียน มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1. หลักฐานการประเมินผลแบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561)
แบบกตน 1-30
การเทียบโอน
ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ไม่สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น