หลักสูตรการแปรรูปผักและผลไม้
จำนวน 16 ชั่วโมง
ความเป็นมา
ณ จุดเริ่มต้น 12,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 14,000 ปีล่วงมาแล้วในดินแดนที่แสงแดดร้อนระอุ ภูมิประเทศล้อมรอบไปด้วยผืนทรายชาวตะวันออกกลางสมัยนั้นนับเป็นชนกลุ่มแรก ที่รู้จักเก็บรักษาอาหารให้กินได้ยาวนานด้วยการใช้ประโยชน์จากแสงแดดในการ ตากแห้งอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์หรือผลไม้ถัดมาในยุคสมัยของชาวสุเมเรียน หรือราว 6,000 ปีก่อน เริ่มมีการทำของหมักดองโดยใช้ประโยชน์จากยีสต์ ทั้งน้ำส้มสายชู และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ จนถึงสมัยอียิปต์โบราณ ชาวไอยคุปต์ เริ่มรู้จักใช้ประโยชน์จากทองคำขาวแห่งโลกเก่าอย่างเกลือ ในยุคเดียวกันนี้ยังมีการทำขนมปังจากแป้งสาลีที่เพิ่มความนุ่มด้วยการเติมยีสต์ด้วยส่วนในดินแดนตะวันออก ชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่อย่างจีนก็พบว่า มีการทำเครื่องดื่มจากข้าวหรือเหล้ากันแล้ว รวมทั้งเครื่องปรุงรสประจำชาติอย่างเต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เต้าหู้ยี้ อันเป็นผลผลิตจาก ถั่วเหลืองนั่นเอง ส่วนในดินแดนขวานทองของไทย ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์การถนอมอาหารยังคงฉายชัดผ่านเมนูที่พบเห็นกันใน ปัจจุบันทั้งปลาร้าปลาจ่อม แหนม ไส้กรอก ผักดอง น้ำปลา น้ำบูดู หรือกระทั่งข้าวหมาก2 ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกแห่งการถนอมอาหาร
ในโลกปัจจุบัน ย้อนหลังกลับไปไม่กี่ร้อยปี มี 2 บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ของการถนอมอาหารเปลี่ยนไปตลอดกาล นั่นก็คือ นโปเลียน โบนาร์ปาร์ต และหลุยส์ ปาสเตอร์ ต้นแบบอาหารกระป๋อง เมื่อครั้งที่ นโปเลียนมหาราช แม่ทัพผู้เกรียงไกรแห่งกองทัพฝรั่งเศสโรมรันพันตูอยู่กับการศึกสงคราม เขาสังเกตเห็นความหิวโหยของเหล่าทหารอันเกิดจากเสบียงอาหารร่อยหรอจากการรบ ที่ยืดเยื้อ จึงสั่งให้ลูกน้องนามว่านิโกลาส์ แอพเพิร์ท คิดหาวิธีเก็บอาหารไว้ได้นานๆ และนายนิโกลาส์ผู้นี้ได้ใช้วิธีปรุงอาหารให้สุกก่อนบรรจุลงในขวดแก้วแล้วปิด ให้สนิทแน่นด้วยจุกไม้ก๊อก ก่อนนำไปต้มฆ่าเชื้อ ด้วยวิธีนี้ทหารหาญของนโปเลียนจึงไม่ต้องทนกับความหิวโหยในสนามรบอีกต่อไป และวิธีนี้ได้กลายมาเป็นต้นแบบของอาหารกระป๋องอย่างที่เราเห็นและกินกันใน ทุกวันนี้นั่นเอง กำเนิดนมพาสเจอไรซ์พาสเจอไรซ์ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่หลุยส์ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ ผู้คิดค้นวิธีทำลายจุลินทรีย์ในไวน์ตั้งแต่เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และต่อมาเกือบครึ่งศตวรรษให้หลังนักวิทยาศาสตร์นามว่าซอกเลต (Soxhlet) ได้นำวิธีการของปาสเตอร์มาใช้กับนมเป็นครั้งแรก ทำให้เรามีนมพาสเจอไรซ์ดื่มมาจนถึงปัจจุบัน
ถนอมอาหารเพื่ออะไร สมัยก่อนในยุคที่อารยธรรมมนุษย์ยังอยู่ห่างไกลจากคำว่าศิวิไลซ์ลองนึกภาพ บรรพบุรุษของเราเมื่อครั้งยังนอนกลางดิน กินกลางทรายเก็บหาของป่าและล่าสัตว์เพื่อยังชีพ ไม่ได้นั่งทำงานในตึกสูง ไม่มีตู้เย็นเก็บอาหาร ไม่มีอาหารสำเร็จรูปให้ฉีกซองเติมน้ำร้อน ด้วยสภาพดังกล่าว มนุษย์จึงค่อยๆ คิดหาหนทางรอดในการยังชีพด้วยการเก็บถนอมอาหารด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เก็บไว้กินได้นานๆ เผื่อปีใดฤดูกาลปรวนแปร ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดู หรือมีเหตุให้ต้องเร่ร่อนอ้างแรมจะได้มีเสบียงของแห้งติดตัว นี่คือเหตุผลของการถนอมอาหารตั้งแต่โบราณ ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อดำรงไว้ซึ่งความอยู่รอด
ปัจจุบัน การถนอมอาหารไม่ใช่เพื่อเก็บอาหารไว้เพราะกลัวขาดแคลนเท่านั้น แต่บางครั้งเกิดจากผลผลิตที่มากเกินไป มีการบริโภคไม่ทัน การแปรรูปในรูปแบบต่างๆ ก็เป็นทางเลือกที่คนทั่วโลกนิยมใช้ตามแต่วัฒนธรรมของใคร รวมทั้งความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอาหารก็มีส่วนช่วยสร้างให้เกิดการถนอมอาหาร รูปแบบต่างๆ ขึ้นมาได้ อย่างเครื่องปรุงและเครื่องเคียงประจำชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเต้าเจี้ยวของจีนโชยุและมิโซะของญี่ปุ่น กิมจิจากเกาหลี กะหล่ำปลีดองซาวร์เคราท์ของชาวเยอรมัน โยเกิร์ตของบัลแกเรีย ชีสจากนมจามรีของชาวมองโกล รวมทั้งกะปิและน้ำปลาของไทย เป็นต้น
หลักการของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
2. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
3. เป็นหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแนวทางการประกอบอาชีพเพื่อเป็นแนวทางการเสริมรายได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความเข้าใจในกระบวนการฝึกอาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เรียน มีทักษะการ เลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ การคำนวณ ต้นทุนกำไร ของการเรียนอาชีพได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กลุ่มเป้าหมาย
1. ประชาชนทั่วไป
2. ผู้ด้อย ผู้พลาด ผู้ขาดโอกาส
ระยะเวลา จำนวน 16 ชั่วโมง ทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 12 ชั่วโมง
โครงสร้างหลักสูตร
1. ช่องทางการประกอบอาชีพ
1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ
1.2 แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
1.3 การสำรวจทรัพยากรในที่มีในชุมชน
1.4 ทิศทางการประกอบอาชีพ
2. ทักษะการประกอบอาชีพ
2.1 การเลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์
2.2 อธิบาย สาธิต ปฏิบัติ
2.3 ขั้นตอนกระบวนการฝึกอาชีพ
2.4 วิธีการจัดเก็บ และวิธีการดูแลรักษา
3. การบริหารจัดการอาชีพ
3.1 ขั้นตอนการการผลิต การควบคุมคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์
3.1.1 เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพ
3.1.2 บรรจุภัณฑ์
3.2 การจัดการ/การตลาด
3.2.1 การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า
3.2.2 การกระจายสินค้า
3.2.3 การประชาสัมพันธ์
3.3 การวิเคราะห์ศักยภาพใน
3.3.1 ความต้องการในการจำหน่าย
3.3.2 การบันทึกข้อมูลต้นทุน-กำไร
3.3.3 การแข่งขันในตลาดผู้ผลิต
3.3.4 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
4. โครงการการประกอบอาชีพ
4.1 ความสำคัญของโครงการการประกอบอาชีพ
4.2 ประโยชน์ของโครงการการประกอบอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา
2. การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. ฝึกปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
1.1. ใบความรู้
1.2. แบบสังเกตพฤติกรรม
2. แหล่งเรียนรู้
2.1. ห้องสมุด
2.2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3. จากสื่อคอมพิวเตอร์ (www. Google /www.youtube)
2.4. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2.5. วิทยากร
การวัดผลประเมินผล
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 5,6,7,10,11,22
2. การประเมินเวลาเรียน ร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
การจบหลักสูตร
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 6,9,29,30
2. การประเมินเวลาเรียน มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1. หลักฐานการประเมินผลแบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561)
แบบกตน 1-30
การเทียบโอน
ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ไม่สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น