หลักสูตร การทำปลาส้ม
จำนวน 6 ชั่วโมง
ความเป็นมา
ปลาส้ม เป็นอาหารที่นำเนื้อสัตว์ไปหมักกับข้าว น้ำตาล เกลือ) มีรสชาติเปรี้ยวซึ่งมาจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส ปลาส้มมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาส้มเนื้อปลา หูปลา ปลาส้มซี่โครง ปลาส้มที่ทำไว้นานเกินไปจะมีกลิ่นเปรี้ยวมากและมีเมือกไม่น่ากิน ปลาส้มเป็นอาหารดิบ จึงอาจมีพยาธิและแบคทีเรีย โดยถ้าเก็บไว้อุณหภูมิห้อง จะเก็บได้ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ราว 1 เดือน
ปลาส้มเป็นอาหารประเภทเนื้อหมักที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทำปลาส้มเป็นการแปรรูปและถนอมอาหารที่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทยที่สามารถเก็บอาหารประเภทเนื้อได้ในระยะหนึ่ง สำหรับประวัติความเป็นมาของการแปรรูปปลาส้มนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เป็นลักษณะของการพัฒนาหรือค้นคว้าวิธีแปรรูปเนื้อปลาให้มีรสชาติ เนื้อสัมผัส รวมทั้งกลิ่นและสีให้น่ารับประทาน การผลิตปลาส้มสามารถทำได้โดยใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องผ่านความร้อน โดยมีสัดส่วนและองค์ประกอบของวัตถุดิบที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น กระบวนการผลิตทำโดยปล่อยให้เกิดการหมักด้วยเชื้อในธรรมชาติที่ต้องการออกซิเจนเพียงเล็กน้อยเพื่อการเจริญ การบรรจุจึงต้องเน้นความสะอาดและต้องไล่อากาศออกให้หมด เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดแลคติกซึ่งมีรสเปรี้ยวเจริญเติบโตได้เพียงอย่างเดียว ส่วนจุลินทรีย์อื่นที่ต้องการออกซิเจนจะไม่เจริญเติบโตและจุลินทรีย์พวกที่ไม่ชอบความเป็นกรดจะตายเพราะกรดที่สร้างออกมาจากจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติก สำหรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แต่เดิมเป็นใบตองมัดให้แน่นเป็นแท่งขนาดพอเหมาะโดยให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ถุงพลาสติกเป็นภาชนะบรรจุแทน เนื่องจากทำได้ง่ายและสะดวกกว่ารวมทั้งสามารถป้องกันอากาศผ่านเข้าได้เป็นอย่างดี โดยบรรจุเป็นรูปแท่งขนาดต่างๆ
ปลาส้มเป็นอาหารอีกประเภทหนึ่ง มีรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากการหมักของจุลินทรีย์ ปลาส้ม ทอดมีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และบางครั้งจะหั่นเป็นชิ้นติดที่สามารถรับประทานได้ ให้ความกรุบกรอบเวลาเคี้ยว นิยมทานเป็นกับแกล้มคู่กับผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี
หลักการของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
2. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
3. เป็นหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแนวทางการประกอบอาชีพเพื่อเป็นแนวทางการเสริมรายได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ มีความเข้าใจ ในกระบวนการฝึกทักษะอาชีพ พร้อมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับ ผู้ประกอบอาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เรียน มีทักษะการ เลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ การคำนวณ ต้นทุนกำไร ของการเรียนอาชีพได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กลุ่มเป้าหมาย
1. ประชาชนทั่วไป
2. ผู้ด้อย ผู้พลาด ผู้ขาดโอกาส
ระยะเวลา จำนวน 6 ชั่วโมง ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง
โครงสร้างหลักสูตร
1. ช่องทางการประกอบอาชีพ
1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ
1.2 แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
1.3 การสำรวจทรัพยากรในที่มีในชุมชน
1.4 ทิศทางการประกอบอาชีพ
2. ทักษะการประกอบอาชีพ
2.1 การเลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์
2.2 อธิบาย สาธิต ปฏิบัติ
2.3 ขั้นตอนกระบวนการฝึกอาชีพ
2.4 วิธีการจัดเก็บ และวิธีการดูแลรักษา
3. การบริหารจัดการอาชีพ
3.1 ขั้นตอนการการผลิต การควบคุมคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์
3.1.1 เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพ
3.1.2 บรรจุภัณฑ์
3.2 การจัดการ/การตลาด
3.2.1 การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า
3.2.2 การกระจายสินค้า
3.2.3 การประชาสัมพันธ์
3.3 การวิเคราะห์ศักยภาพใน
3.3.1 ความต้องการในการจำหน่าย
3.3.2 การบันทึกข้อมูลต้นทุน-กำไร
3.3.3 การแข่งขันในตลาดผู้ผลิต
3.3.4 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา
2. การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. ฝึกปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
1.1. ใบความรู้
1.2. แบบสังเกตพฤติกรรม
2. แหล่งเรียนรู้
2.1. ห้องสมุด
2.2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3. จากสื่อคอมพิวเตอร์ (www. Google /www.youtube)
2.4. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2.5. วิทยากร
การวัดผลประเมินผล
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 5,6,7,10,11,22
2. การประเมินเวลาเรียน ร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
การจบหลักสูตร
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 6,9,29,30
2. การประเมินเวลาเรียน มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1. หลักฐานการประเมินผลแบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561)
แบบกตน 1-30
การเทียบโอน
ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ไม่สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น