หลักสูตรการทำอาหารว่าง
จำนวน 16 ชั่วโมง
ความเป็นมา
อาหารไทยเป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมาจุดกำเนิดอาหารไทย อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ ดังนี้ต้มยำกุ้ง ต้มยำกุ้ง
สมัยสุโขทัย จากหลักฐานศิลาจากรึกและวรรณคดีโบราณกล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่ามีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าวส่วนใหญ่ได้มาจากปลา ผักและเนื้อสัตว์ต่างๆ ส่วนอาหารหวานใช้วัตถุดิบพื้นบ้านและผลไม้แทนอาหารหวาน
สมัยอยุธยา เป็นยุคทองของประเทศไทย มีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศทั้งตะวันตกและตะวันออก คนไทยยังกินอาหารแบบเรียบง่าย คาดว่ามีการใช้น้ำมัน ในการประกอบอาหารซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าวและเริ่มมีการถนอมอาหารโดยการตากแห้งหรือทำปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้มเช่นน้ำพริกกะปิ มีการใช้ เครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ เพื่อดับกลิ่นคาวอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารไทยในสมัยอยุธยาได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ อาทิเช่น เช่นญี่ปุ่น โปรตุเกส เปอร์เซียและจีนในช่วงปลายสมัยอยุธยา และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลาย อยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชนและกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด สมัยธนบุรี อาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ผัดไทย ผัดไทย
สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นรัชการตั้งแต่สมัยรัชการที่ 1 ถึง รัชการที่ 4 อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้นและยังคงได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนโดยสังเกตุจากมีการใช้หมูเป็นส่วนประกอบแล้วยังมีอาหารที่ปรุง ด้วยเครื่องเทศแบบอิสลามและถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติ ให้เป็นอาหารไทย ศาสตร์และศิลป์แห่งอาหารชาววังได้เผยแพร่สู่ประชาชนอย่างกว้างขวางทั้ง จากบรรดาข้าหลวงที่เข้ามาถวายตัวรับใช้ในวัง ได้วิชาเรือนติดตัวไป เมื่อออกไปมีเหย้ามีเรือน ความรู้ด้านอาหารชาววังก็จึงถูกเผยแพร่ออกไป
อาหารว่างของไทยมีมากมายหลากหลายชนิดมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวานที่มีการจัดจานอย่างสวยงามชวนให้น่ารับประทาน การประกอบอาหารทั้งคาวและหวานให้อร่อยน่ารับประทานมีประโยชน์และปลอดภัยนั้น ต้องผ่านกระบวนการเตรียม ประกอบจัดตกแต่งอาหารที่สะอาด และถูกวิธีทั้งของสดและของแห้ง การเตรียมอาหารประเภทของว่างหรือของทานเล่นที่นิยมเป็นการเตรียมอาหารที่รวดเร็วสะดวกและง่ายดายในการจัดเตรียม เหมาะสำหรับเป็นมื้อเบาๆ ของครอบครัว ในการเตรียมประกอบอาหารควรล้าง ปอก หั่น ซอยให้มีขนาดพอคำและปรุงรสอาหารให้สุกด้วยวิธีต่างๆ ทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นของอาหารที่น่ารับประทานโดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารเป็นสำคัญ
หลักการของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
2. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
3. เป็นหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแนวทางการประกอบอาชีพเพื่อเป็นแนวทางการเสริมรายได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ มีความเข้าใจ ในกระบวนการฝึกทักษะอาชีพ พร้อมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับ ผู้ประกอบอาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เรียน มีทักษะการ เลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ การคำนวณ ต้นทุนกำไร ของการเรียนอาชีพได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กลุ่มเป้าหมาย
1. ประชาชนทั่วไป
2. ผู้ด้อย ผู้พลาด ผู้ขาดโอกาส
ระยะเวลา จำนวน 16 ชั่วโมง ทฤษฎี 4 ชั่วโมง ปฏิบัติ 12 ชั่วโมง
โครงสร้างหลักสูตร
1. ช่องทางการประกอบอาชีพ
1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ
1.2 แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
1.3 การสำรวจทรัพยากรในที่มีในชุมชน
1.4 ทิศทางการประกอบอาชีพ
2. ทักษะการประกอบอาชีพ
2.1 การเลือกซื้อ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์
2.2 อธิบาย สาธิต ปฏิบัติ
2.3 ขั้นตอนกระบวนการฝึกอาชีพ
2.4 วิธีการจัดเก็บ และวิธีการดูแลรักษา
3. การบริหารจัดการอาชีพ
3.1 ขั้นตอนการการผลิต การควบคุมคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์
3.1.1 เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพ
3.1.2 บรรจุภัณฑ์
3.2 การจัดการ/การตลาด
3.2.1 การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า
3.2.2 การกระจายสินค้า
3.2.3 การประชาสัมพันธ์
3.3 การวิเคราะห์ศักยภาพใน
3.3.1 ความต้องการในการจำหน่าย
3.3.2 การบันทึกข้อมูลต้นทุน-กำไร
3.3.3 การแข่งขันในตลาดผู้ผลิต
3.3.4 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา
2. การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. ฝึกปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
1.1. ใบความรู้
1.2. แบบสังเกตพฤติกรรม
2. แหล่งเรียนรู้
2.1. ห้องสมุด
2.2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3. จากสื่อคอมพิวเตอร์ (www. Google /www.youtube)
2.4. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2.5. วิทยากร
การวัดผลประเมินผล
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 5,6,7,10,11,22
2. การประเมินเวลาเรียน ร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
การจบหลักสูตร
1. แบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561) แบบกตน 6,9,29,30
2. การประเมินเวลาเรียน มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. การประเมินตามสภาพจริงจากชิ้นงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ ร้อยละ 80
4. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมิน ร้อยละ 80
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1. หลักฐานการประเมินผลแบบฟอร์มการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง 2561)
แบบกตน 1-30
การเทียบโอน
ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ไม่สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น