บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางพรพิมล ยอดสิงห์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) กองการศึกษาเทศบาลเมือง
มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะ และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL)
โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) กองการศึกษาเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) จำนวน 10 แผน เวลาเรียน 20 ชั่วโมง (2) แบบฝึกทักษะ จำนวน 10 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่า t (Dependent samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.82/85.39 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7559 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 75.59 สูงกว่าเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึก
ทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีความคงทนในการเรียนรู้ ซึ่งมีคะแนนลดลงเพียงร้อยละ 0.31
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด