บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางพรพิมล ยอดสิงห์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) กองการศึกษาเทศบาลเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างและผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ด้วยการสัมภาษณ์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 79 คน ครูโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) จำนวน 12 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัย คือ แบบบันทึกเอกสารและสรุปความ แบบสัมภาษณ์นักเรียนและครูผู้สอน (2) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและการทดลองใช้รูปแบบการสอน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักเรียนที่ใช้ในการสร้างและทดลองใช้ทั้งแบบรายบุคคล แบบกลุ่มเล็ก และแบบกลุ่มใหญ่ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รวม 36 คน ใช้เครื่องมือ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง จำนวน 8 แผน บทเรียนสำเร็จรูป 8 เล่ม และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ (3) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการสอนจริง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้เครื่องมือเหมือนกับขั้นการทดลองใช้ เรื่องละ 2 ชั่วโมง เวลาเรียน 16 ชั่วโมง (4) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่า t (Dependent samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา พบว่า เนื้อหาที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน มากที่สุด ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ขาดความใส่ใจจากผู้ปกครอง ความรู้ความสามารถตรงกับวิชาเอกที่สอนของครูส่วนใหญ่สอนตรงสาขากับวิชาเอก ร้อยละ 90 แต่คาบสอนมากเกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีงานพิเศษค่อนข้างมาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูวิทยาศาสตร์ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยนำทฤษฎีการเรียนแบบนำตนเอง และบทเรียนสำเร็จรูปมาใช้ เพราะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนรับผิดชอบในการวางแผนการปฏิบัติและประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง
2. การสร้างและทดลองใช้รูปแบบการสอน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้ด้วยรูปแบบการสอน พบว่า (1) การทดลองใช้แบบรายบุคคล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.08/76.67 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 จึงควรนำไปปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการสอน (2) การทดลองใช้แบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.81/80.56 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 ควรปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง และ (3) การทดลองใช้แบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.01/82.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงว่า สามารถนำรูปแบบการสอนและบทเรียนสำเร็จรูป ไปใช้สอนจริงได้อย่างมีคุณภาพ
3. ผลการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป พบว่า (1) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.57/85.26 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 (2) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7608 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 76.08 สูงกว่าเกณฑ์ 70 และประสิทธิผลอยู่ในระดับดี และ (3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปพบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการได้รับความรู้จากรูปแบบการสอน ด้านรูปแบบการสอน ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านบทเรียนสำเร็จรูป