เพื่อพัฒนาความสมารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพิชญา ศรีทน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาเชือก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 1/2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการใช้คู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้คู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาเชือก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสุ่มเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น จำนวน 1 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใช้คู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษรูปแบบเอสเอสซีเอส (SSCS) หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ จากสูตร E1/E2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบคู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น รูปแบบเอสเอสซีเอส (SSCS) หน่วยการเรียนรู้
เซต รายวิชา ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าประสิทธิภาพได้เท่ากับ 83.74/78.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการใช้คู่มือประกอบการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น รูปแบบเอสเอสซีเอส (SSCS) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53