การประเมินโครงการครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย การประเมินโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการเป็นการประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ประเมินกระบวนการ (Process) และประเมินผลผลิต (Product) และระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลผลิต (Product) ใช้การประเมินโครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้ให้ข้อมูล คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านวังกระสวย จำนวน 63 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. สภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย โดยภาพรวมมีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44,  = 0.39) ความสอดคล้องของกิจกรรมกับวัตถุประสงค์โครงการ มีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50,  = 0.48) ความสอดคล้องวัตถุประสงค์ของโครงการกับเป้าหมาย อยู่ในระดับมาก ( = 4.44,  = 0.48) และความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.39,  = 0.71)
2. ปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย โดยภาพรวมมีความพร้อมเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55,  = 0.41) บุคลากรมีความพร้อมเหมาะสม อยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.55,  = 0.63) ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ มีความพร้อมเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.55,  = 0.63) วัสดุอุปกรณ์ มีความพร้อมเหมาะสม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 4.41,  = 0.70) และงบประมาณ มีความพร้อมเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.10,  = 0.37)
3. กระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.45,  = 0.64) การปรับปรุงแก้ไข (Act) มีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.59,  = 0.63) การวางแผน (Plan) มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.48,  = 0.68) การตรวจสอบ (Check) มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.40,  = 0.58) และการลงมือปฏิบัติ (Do) มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.34,  = 0.72)
4. ผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย ระหว่างดำเนินโครงการโดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.39,  = 0.65) ประเด็น ครูนำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้ มีการดำเนินการอยู่ระดับมาก ( = 4.45,  = 0.55) ประเด็นครู มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.43,  = 0.67) และประเด็นโรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.29,  = 0.72)
5. ผลการประเมินผลผลิต (Product) หลังดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71,  = 0.24) ประเด็นครูนำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้ มีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.76,  = 0.21) ประเด็น ครู มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72,  = 0.36) และประเด็นโรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65,  = 0.36)
โดยภาพรวมของผลการประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย ระหว่างดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ผลการประเมินผลผลิต(Product) หลังดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผลการประเมินผลผลิต(Product) ระหว่างดำเนินโครงการ ทุกประเด็น เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า ประเด็นโรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยผลต่างสูงสุด (0.36) รองลงมาคือ ประเด็น ครู นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้ มีค่าเฉลี่ยผลต่างรองลงมา (0.31) และประเด็นครู มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยผลต่างน้อยที่สุด (0.29)
6. ผลการประเมินภาพรวม ของโครงการส่งเสริมการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านวังกระสวย โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับ มาก ( = 4.23,  = 0.48) การประเมินผลผลิต (Product) มีผลการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.55,  = 0.45) การประเมินสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.44,  = 0.39) การประเมินกระบวนการ (Process) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.39,  = 0.65) และการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.39,  = 0.65)